วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน





ประเทศทุกประเทศจะต้องจัดการเรื่องระเบียบการปกครอง การบริหารงานระหว่างรัฐกับประชาชน เพื่อให้เกิดความสงบสุขและความสะดวกให้แก่ประชาชน รัฐจึงออกกฎหมายการปกครองออกมาใช้บังคับประชาชน
ความหมายของกฎหมายการปกครองในที่นี้ หมายถึง กฎหมายที่วางระเบียบการบริหารภายในประเทศ โดยวิธีการแบ่งอำนาจการบริหารงานตั้งแต่สูงสุดลงมาจนถึงระดับต่ำสุด เป็นการกำหนดอำนาจและหน้าที่ของราชการผู้ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร
โดยหลักทั่วไปทางวิชาการกฎหมายการปกครอง ได้จัดระเบียบการปกครองประเทศหรือที่เรียกว่า จัดระเบียบราชการบริหาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization)
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization)
การปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง (Centralization) หมายถึง การจัดระเบียบการปกครอง โดยรวมอำนาจการปกครองทั้งหมดไว้ที่ส่วนกลาง พนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนกลางและต่างจังหวัดไดรับการแต่งตั้งถอดถอนและบังคับบัญชาจากส่วนกลางเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่ส่วนกลางกำหนดขึ้น เช่น การปกครองที่แบ่งส่วนราชการออกเป็น กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด เป็นต้น
การปกครองแบบกระจายอำนาจปกครอง (Decentralization) หมายถึง การจัดระเบียบการ ปกครองโดยวิธีการยกฐานะท้องถิ่นหนึ่งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้วให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการปกครองตนเองอย่างอิสระโดยการบริหารส่วนกลางจะไม่เข้ามาบังคับบัญชาใด ๆ นอกจากคอยดูแลให้ท้องถิ่นนั้นดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ภายในขอบเขตของกฎหมายจัดตั้งท้องถิ่นเท่านั้น เช่น การปกครองของเทศบาลในจังหวัดต่าง ๆ เทศบาลกรุงเทพมหานคร หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นต้น
กฎหมายการปกครองที่เกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศไทย ได้ใช้รูปแบบการปกครอง ทั้งประเภทที่กล่าวมาแล้ว คือ ใช้ทั้งแบบรวมอำนาจและกระจายอำนาจ เพื่อให้มีความเหมาะสมกับการปฎิบัติงานของราชการ ให้มีสมรรถภาพ การกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการต่างๆให้ชัดเจน เพื่อมิให้มีการปฎบัติงานที่ซ้ำซ้อนระหว่างส่วนราชการต่างๆและเพื่อให้การบริหารในระดับต่างๆมีเอกภาพสามารถดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่รัฐบาลกำหนดได้ดี
ดังนั้น รัฐบาลจึงออกกฎหมายการปกครองขึ้นมา คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และฉบับที่ 5 พ.ศ.2545และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 พอสรุปดังนี้
ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน คือ กติกาที่ยอมรับเป็นบรรทัดฐาน เพื่อให้การบริหารราชการมุ่งไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน มีที่มาจากแหล่งต่าง ๆ อันได้แก่ ขนบธรรม-เนียมการปกครอง รัฐธรรมนูญและความจำเป็นในการบริหารงานเพื่อแก้ไขสถานการณ์การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง
ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค
ระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนกลางหมายถึง หน่วยราชการจัดดำเนินการและบริหารโดยราชการของ ส่วนกลางที่มีอำนาจในการบริหารเพื่อสนองความต้องการของประชาชน จะมีลักษณะการปกครองแบบรวมอำนาจ หรือมีความหมายว่า เป็นการรวมอำนาจในการสั่งการ การกำหนดนโยบายการวางแผน การควบคุมตรวจสอบ และการบริหารราชการสำคัญ ๆ ไว้ที่นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีและกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ตามหลักการรวมอำนาจ การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง จัดแบ่งออกได้ดังนี้
สำนักนายกรัฐมนตรี
กระทรวง หรือทบวงที่มีฐานะเทียบเท่า กระทรวง
ทบวง สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวง
กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นมีฐานะเป็นกรม ซึ่งสังกัดหรือไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
การจัดตั้ง ยุบ ยกเลิก หน่วยงาน ตามข้อ 1- 4 ดังกล่าวนี้ จะออกกฎหมายเป็น พระราชบัญญัติและมีฐานะเป็นนิติบุคคล
ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ได้จัดแบ่ง กระทรวง และส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง รวม 20 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเทคนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธรณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี มีฐานะเป็นกระทรวง อยู่ภายใต้การปกครองบังคับบัญชาของนากยรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นเครี่องของนากยรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นหัวใจของการบิหารราชการหรือเกี่ยวกับราชการทั่วไปของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี กิจการเกี่ยวกับการทำงบประมาณแผ่นดินและราชการอื่น ตามที่ได้มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของสำนักนายกรัฐมนตรี หรือส่วนราชการซึ่งสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือส่วนราชการอื่น ๆ ซึ่งมิได้อยู่ภายในอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งโดยเฉพาะ
สำนักนายกรัฐมนตรีมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของสำนักนายกรัฐมนตรีให้สอดคล้องกันนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี และจะให้มีรองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหรือทั้งรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติก็ได้
กระทรวง หมายถึง ส่วนราชการที่แบ่งออกเป็นกลุ่มขนาดใหญ่ที่สุด รับผิดชอบงานที่กำหนดในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งทำหน้าที่จัดทำนโยบายและแผน กำกับ เร่งรัด และติดตามนโยบาย และแผนการปฏิบัติราชการกระทรวง จะจัดระเบียบบริหารราชการโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีสำนักนโยบายและแผนเป็นส่วนราชการภายในขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
กระทรวงหนึ่งๆมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและกำหนดนโยบายของกระทรวงให้สอดคล้องกับนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนัมัติและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกระทรวง และจะให้มีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งและปฏิบัติราชการก็ได้ ให้มีปลัดกระทรวงมีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมราชการประจะในกระทรวง เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำในกระทรวงจากรับมนตรี โดยมีรองปลัดกระทรวงหรือผู้ช่วยปลัดกระทรวงเป็นผู้ช่วยสั่งการและปฏิบัติราชการแทน การจัดระเบียบราชการของกระทรวง ดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดกระทรวง
(3) กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น เว้นแต่บางทบวงเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกรมก็ได้
ทบวง เป็นหน่วยงานที่เล็กกว่ากระทรวง แต่ใหญ่กว่า กรม ตามพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 มาตรา 25 ว่า ราชการส่วนใดซึ่งโดยสภาพและปริมาณของงานไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกระทรสงหรือทบวง ซึ่งเทียบเท่ากระทรวงจะจัดตั้งเป็นทบวงสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีหรือกระทรวงเพื่อให้มีรัฐมนตรีว่าการทบวงเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและมีรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวงและมีปลัดทบวง ซึ่งรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของทบวงก็ได้และมีอำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในกฏหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม การจัดระเบียบราชการในทบวง มีดังนี้
(1) สำนักเลขานุการรัฐมนตรี
(2) สำนักงานปลัดทบวง
(3) กรมหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ส่วนราชการตาม (2) (3) มีฐานะเป็น กรม
กรม หมายถึง เป็นส่วนราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรืออาจเป็นส่วนราชการอิสระไม่สังกัดกระทรวงหรือทบวงอยู่ใต้การบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีว่าการทรวงคนใดคนหนึ่งให้แบ่งส่วนราชการดังนี้
(1) สำนักงานเลขานุการกรม
(2) กองหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบกอง เว้นแต่บางกรมเห็นว่าไม่มีความจำเป็นจะไม่แยกส่วนราชการตั้งขึ้นเป็นกองก็ได้
กรมใดมีความจำเป็น จะแบ่งส่วนราชการโดยให้มีส่วนราชการอื่นนอกจาก (1) หรือ (2) ก็ได้ โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา กรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการส่วนใดส่วนหนึ่งของกระทรวง หรือทบวงหรือทบวงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการของกรมหรือตามกฏหมายว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกรมนั้น
กรมมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรม ให้เป็นไปตามนโยบายแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง และในกรณีที่มีกฏหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของอธิบดีไว้เป็นการเฉพาะ การอำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรืออนุมัติและแนวทางและแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง
ปัจจุบันมีส่วนราชการไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงหรือทบวง มี 9 ส่วนราชการมีฐานะเป็นกรม คือ สำนักพระราชวัง สำนักราชเลขาธิการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ราชบัณฑิตยสถานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
การปฏิบัติราชการแทน อำนาจในการสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการใดที่ผู้ดำดงตำแหน่งใดพึงปฏิบัติตามกฎหมาย ถ้ากฎหมายมิได้กำหนดเรื่องการมอบอำนาจไว้ ผู้ดำรงตำแหน่งนั้นอาจมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่น ปฏิบัติราชการแทนได้
การบริหารราชการส่วนภูมิภาค
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคหมายถึง หน่วยราชการของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ซึ่งได้แบ่งแยกออกไปดำเนินการจัดทำตามเขตการปกครอง โดยมีเจ้าหน้าที่ของทางราชการส่วนกลาง ซึ่งได้รับแต่งตั้งออกไปประจำตามเขตการปกครองต่าง ๆ ในส่วนภูมิภาคเพื่อบริหารราชการภายใต้การบังคับบัญชาของราชการส่วนกลางโดยมีการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดเพราะถือเป็นเพียงการแบ่งอำนาจการปกครองออกมาจากการบริหารส่วนกลาง
การบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นการบริหารราชการตามหลักการแบ่งอำนาจโดยส่วนกลางแบ่งอำนาจในการบริหารราชการให้แก่ภูมิภาค อันได้แก่จังหวัด มีอำนาจในการดำเนินกิจการในท้องที่แทนการบริหารราชการส่วนกลาง
ลักษณะการแบ่งอำนาจให้แก่การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การมอบอำนาจในการตัดสินใจ วินิจฉัย สั่งการให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไปประจำปฏิบัติงานในภูมิภาค เจ้าหน้าที่ในว่าในภูมิภาคให้อำนาจบังคับบัญชาของส่วนกลางโดยเฉพาะในเรื่องการแต่งตั้งถอดถอนและงบประมาณซึ่งเป็นผลให้ส่วนภูมิภาคอยู่ใการควบคุมตรวจสอบจากส่วนกลางและส่วนกลางอาจเรียกอำนาจกลับคืนเมื่อใดก็ได้
ดังนั้นในทางวิชาการเห็นว่าการปกครองราชการบริหารส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจึงเป็นการปกครองแบบรวมอำนาจปกครอง
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค จัดแบ่งออกได้ดังนี้
1. จังหวัด เป็นหน่วยราชการที่ปกครองส่วนภูมิภาคที่ใหญ่ที่สุด มีฐานะเป็นนิติบุคคลประกอบขึ้นด้วยอำเภอหลายอำเภอหลาย อำเภอ การตั้ง ยุบและเปลี่ยนแปลงเขตจังหวัด ให้ตราเป็นกฎหมายพระราชบัญญัติ
ในจังหวัดหนึ่ง ๆ มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับนโยบายและคำสั่งจากนายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาล คณะรัฐมนตรี กระทรวง และกรม มาปฏิบัติการให้เหมาะสมกับท้องที่และประชาชนและเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในบรรดาข้าราชการฝ่านบริหารส่วนภูมิภาคในเขตจังหวัดที่รับผิดชอบ อาจจะมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งสังกัดกระทรวงมหาดไทย
ผู้ว่าราชการจังหวัด มีคณะปรึกษาในการบริหารราชการแผ่นดินในจังหวัดนั้นเรียกว่า คณะกรมการจังหวัดประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน รองผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งคนตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ปลัดจังหวัด อัยการจังหวัดซึ่งเป็นหัวหน้าที่ทำการอัยการจังหวัด รองผู้บังคับการตำรวจซึ่งทำหน้าที่หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหรือผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัด แล้วแต่กรณีและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดจากกระทรวงและทบวงต่าง ๆ เว้นแต่กระทรวงมหาดไทยซึ่งประจำอยู่ในจังหวัด กระทรวง และทบวงละหนึ่งคนเป็นกรมการจังหวัด และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นกรมการจังหวัดและเลขานุการ
ให้แบ่งส่วนราชการของจังหวัด ดังนี้
(1) สำนักงานจังหวัด มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปและการวางแผนพัฒนาจังหวัดของจังหวัดนั้นมีหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานจังหวัด
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม ได้ตั้งขึ้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวง กรมนั้นๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
2. อำเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารส่วนภูมิภาครองจากจังหวัด แต่ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลเหมือนจังหวัด การจัดตั้ง ยุบเลิกและเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอ กระทำได้โดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา มีนายอำเภอเป็นหัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอำเภอ และรับผิดชอบการบริหารราชการของอำเภอ นายอำเภอสังกัดกระทรวงมหาดไทย และให้มีปลัดอำเภอและหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอซึ่งกระทรวงต่าง ๆส่งมาประจำให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ การแบ่งส่วนราชการของอำเภอ มีดังนี้
(1) สำนักงานอำเภอ มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการทั่วไปของอำเภอนั้น ๆ มีนายอำเภอเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบ
(2) ส่วนต่าง ๆ ซึ่งกระทรวง ทบวง กรมได้ตั้งขึ้นในอำเภอนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับราชการของกระทรวง ทบวงกรมนั้น ๆ มีหัวหน้าส่วนราชการประจำอำเภอนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหมายถึง กิจกรรมบางอย่างซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้ท้องถิ่นจัดทำกันเอง เพื่อสนองความต้องการส่วนรวมของประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยเฉพาะโดยมีเจ้าหน้าที่ซึ่งราษฎรในท้องถิ่นเลือกตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินงานโดยตรงและมีอิสระในการบริหารงาน
อาจกล่าวได้ว่าการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นการบริหารราชการตามหลักการกระจายอำนาจ กล่าวคือ เป็นการมอบอำนาจให้ประชาชนปกครองกันเอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรู้จักการร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เป็นการแบ่งเบาภาระของส่วนกลาง และอาจยังประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนในท้องที่ได้มากกว่า เพราะประชาชนในท้องถิ่นย่อมรู้ปัญหาและความต้องการได้ดีกว่าผู้อื่น
การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีดังนี้
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เทศบาล
สุขาภิบาล
ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่ สภาตำบลองค์การบริหารตำบลกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
องค์การบริหารส่วนจังหวัด
เป็นการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในจังหวัดที่อยู่นอกเขตเทศบาลและสุขาภิบาล มีฐานะเป็นนิติบุคคล ดำเนินกิจการส่วนจังหวัดแยกเป็นส่วนต่างหากจากการบริหารราชการส่วนภูมิภาคในรูปของจังหวัด ในจังหวัดหนึ่งจะมีองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง
องค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกอบด้วย
สภาจังหวัด
ผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นผู้ดำเนินกิจการส่วนจังหวัด

ศาลยุติธรรมไทย

ศาลยุติธรรมไทย





ศาลยุติธรรม (The Court of Justice) เป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น
ศาลยุติธรรมมี 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เว้นแต่ที่มีบัญญัติเป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญหรือตามกฎหมายอื่น1.ศาลชั้นต้น ได้แก่ ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี ศาลจังหวัด ศาลแขวง และศาลยุติธรรมอื่นที่พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้นกำหนดให้เป็นศาลชั้นต้น เช่น ศาลเยาวชนและครอบครัว ศาลแรงงาน ศาลภาษีอากร ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ศาลล้มละลาย



ศาลชั้นต้น (อังกฤษ: Trial court) เป็นศาลยุติธรรมชั้นต้นถัดจากศาลอุทธรณ์ลงมา เป็นศาลที่พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีเป็นครั้งแรก เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งเป็นอย่างอื่น
ศาลชั้นต้น ได้แก่ศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งทั้งปวงและคดีอื่นใดที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่นศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาธนบุรี มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาทั้งปวงที่มิได้อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมอื่น รวมทั้งคดีอื่นใดที่มีกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีอาญา แล้วแต่กรณีศาลจังหวัด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาทั้งปวง มีเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลนั้น ๆศาลแขวง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีและมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้ศาลชำนาญพิเศษ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลชำนาญพิเศษนั้น ๆ เช่น ศาลภาษีอากรกลาง มีอำนาจพิจารณาคดีภาษีอากร ศาลล้มละลายกลาง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ศาลแรงงาน ศาลเยาวชนและครอบครัว
แต่ทั้งนี้ ในส่วนของศาลชำนาญพิเศษ บางตำราอาจจัดเป็นคนละประเภทกับศาลชั้นต้น เพราะตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม อันเป็นกฎหมายฉบับหนึ่ง มีศักดิ์เป็นพระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการจัดแบ่งประเภทของศาลยุติธรรม เขตอำนาจศาลและองค์คณะผู้พิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๓ ดังนี้
มาตรา ๓ ศาลชั้นต้น (1) สำหรับกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัดมีนบุรี (ค) ศาลแพ่งธนบุรีและศาลอาญาธนบุรี (ง) ศาลแพ่งกรุงเทพใต้และศาลอาญากรุงเทพใต้ (จ) ศาลแพ่งและศาลอาญา (2) สำหรับจังหวัดอื่น ๆ นอกจากกรุงเทพมหานคร ได้แก่ (ก) ศาลแขวง (ข) ศาลจังหวัด
ปัจจุบันนี้ในกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีศาลจังหวัดมีนบุรีแล้ว ยังมีศาลจังหวัดดุสิต ศาลจังหวัดตลิ่งชัน และศาลจังหวัดพระโขนง เพิ่มเติมขึ้นมา โดยยกฐานะจากศาลแขวงดุสิต ศาลแขวงตลิ่งชัน และศาลแขวงพระโขนง ให้เป็นศาลจังหวัด เนื่องด้วยเป็นการเพิ่มเขตอำนาจให้กว้างขวางมากขึ้น สอดรับกับปริมาณคดีที่เพิ่มสูงขึ้น
และในอนาคต อาจมีการยกฐานะศาลแขวงปทุมวัน รวมถึงศาลแขวงอื่น ๆ ให้มีฐานะเป็นศาลจังหวัดอีกด้วย
ส่วนศาลทหาร ไม่ใช่ศาลยุติธรรม แต่เป็นศาลชั้นต้นตามกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหาร
2.ศาลอุทธรณ์ ได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค



ศาลอุทธรณ์ คือ ศาลสูงถัดจากศาลชั้นต้นซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อยู่ในเขตอำนาจ กับมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่ศาลอุทธรณ์มีอำนาจวินิจฉัยได้ตามกฎหมายอื่นในเขตท้องที่ที่มิได้อยู่ในเขตศาลอุทธรณ์ภาค เว้นแต่คดีที่อยู่นอกเขตศาลอุทธรณ์จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก็ได้ ทั้งนี้อยู่ในดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่จะไม่ยอมรับพิจารณาพิพากษาคดีใดคดีหนึ่งที่อุทธรณ์เช่นนั้นก็ได้ เว้นแต่คดีนั้นจะได้โอนมาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
3.ศาลฎีกาซึ่งเป็นศาลยุติธรรมสูงสุด ที่มีอยู่เพียงศาลเดียว



ศาลฎีกา เป็นศาลยุติธรรมชั้นสูงสุด มีเขตอำนาจทั่วทั้งราชอาณาจักร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ภาค ภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายว่าด้วยการฎีกา และมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่อุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยตรงต่อศาลฎีกาไม่ต้องผ่านศาลอุทธรณ์หรือศาลอุทธรณ์ภาคตามกฎหมายเฉพาะ เช่น คดีแรงงาน คดีภาษีอากร คดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ คดีล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เป็นต้น และคดีที่กฎหมายอื่นบัญญัติให้ศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษา รวมทั้งมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดหรือสั่งคำร้องคำขอที่ยื่นต่อศาลฎีกาตามกฎหมาย (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓) คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลฎีกาเป็นที่สุด (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๓)
ศาลฎีกามีองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน (พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๒๗) แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ เมื่อประธานศาลฎีกาเห็นว่าควรให้วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ หรือเมื่อเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าให้คดีเรื่องใดวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ (ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๔๐ วรรคสอง) ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
องค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีประกอบด้วยผู้พิพากษาอย่างน้อย 3 คน แต่หากคดีใดมีปัญหาสำคัญ ประธานศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้นำปัญหาดังกล่าวเข้าสู่การวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยผู้พิพากษาศาลฎีกาทุกคนซึ่งอยู่ปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีการจัดประชุมใหญ่ แต่ทั้งนี้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้พิพากษาศาลฎีกาทั้งหมด
ศาลฎีกามีแผนกคดีพิเศษทั้งสิ้น 11 แผนก เพื่อวินิจฉัยชี้ขาดคดีที่อาศัยความชำนาญพิเศษ มีผู้พิพากษาศาลฎีกาประจำแผนก ๆ ละ ประมาณ 10 คน โดยแผนกคดีพิเศษในศาลฎีกาประกอบด้วยแผนกคดีที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย 10 แผนก

รัฐสภาไทย



รัฐสภาแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสถาบันที่พระมหากษัตริย์ไทยพระราชทานอำนาจให้เป็นผู้ออกกฎหมายสำหรับการปกครองและการบริหารประเทศ ซึ่งเรียกว่า อำนาจนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันบัญญัติให้รัฐสภา ประกอบด้วย วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะประชุมร่วมกัน หรือแยกกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ โดยมีประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานรัฐสภา และประธานวุฒิสภา เป็นรองประธานรัฐสภา โดยตำแหน่ง



ประวัติรัฐสภาไทย



รัฐสภาของประเทศไทยกำเนิดขึ้นเมื่อวันที่
28 มิถุนายน พ.ศ. 2475 หลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวฉบับแรก เมื่อผู้แทนราษฎรจำนวน 70 คนซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ได้เปิดประชุมสภาขึ้นเป็นครั้งแรก ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม และเมื่อการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทั่วประเทศได้สำเร็จลง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้พระราชทานพระที่นั่งอนันตสมาคมองค์นี้แก่ผู้แทนราษฎรเพื่อใช้เป็นที่ประชุมสืบต่อมา
ต่อมา เมื่อจำนวนสมาชิกรัฐสภาต้องเพิ่มมากขึ้นตามอัตราส่วนของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดความจำเป็นที่จะต้องจัดสร้างอาคารรัฐสภาที่มีขนาดใหญ่กว่า เพื่อให้มีที่ประชุมเพียงพอกับจำนวนสมาชิก และมีที่ให้ข้าราชการสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาใช้เป็นที่ทำงาน จึงได้มีการวางแผนการจัดสร้างอาคารรัฐสภาขึ้นใหม่ถึง 4 ครั้งด้วยกัน แต่ก็ต้องระงับไปถึง 3 ครั้ง เพราะคณะรัฐมนตรีผู้ดำริต้องพ้นจากตำแหน่งไปเสียก่อน
ในครั้งที่ 4 แผนการจัดสร้างรัฐสภาใหม่ได้ประสบผลสำเร็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงยืนยันพระราชประสงค์เดิมที่จะให้ใช้พระที่นั่งอนันตสมาคมและบริเวณ เป็นที่ทำการของรัฐสภาต่อไป และยังได้พระราชทานที่ดินบริเวณทิศเหนือของพระที่นั่งอนันตสมาคม ให้เป็นที่จัดสร้างสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาขึ้นใหม่ด้วย
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2513 โดยมีกำหนดสร้างเสร็จภายใน 850 วัน ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 51,027,360 บาท ประกอบด้วยอาคารหลัก 3 หลัง คือ
หลังที่ 1 เป็นตึก 3 ชั้นใช้เป็นที่ประชุมวุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร และการประชุมร่วมกันของสภาทั้งสอง ส่วนอื่นๆ เป็นที่ทำการของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา ประธาน และรองประธานของสภาทั้งสอง
หลังที่ 2 เป็นตึก 7 ชั้น ใช้เป็นสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและโรงพิมพ์รัฐสภา
หลังที่ 3 เป็นตึก 2 ชั้นใช้เป็นสโมสรรัฐสภา
สถานที่ทำการใหม่ของรัฐสภา ใช้ในการประชุมรัฐสภาเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2517 สำหรับพระที่นั่งอนันตสมาคม ถือเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ และใช้เป็นที่รับรองอาคันตุกะบุคคลสำคัญ ใช้เป็นสถานที่ประกอบรัฐพิธีเปิดสมัยประชุม รัฐพิธีฉลองวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ และมีโครงการใช้ชั้นล่างของพระที่นั่งเป็นจัดสร้างพิพิธภัณฑ์รัฐสภา

รัฐบาลไทย(คณะรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรี ( Cabinet) มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คณะรัฐมนตรี หรือที่หลายคนเรียกว่า คณะรัฐบาล คือ กลุ่มบุคคล ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอันทรงเกียรติ มีอำนาจในการบริหารประเทศ เป็นที่น่าภาคภูมิใจในสายตาของคนทั่วไป การดำเนินการใดๆของคณะรัฐมนตรีนี้ ย่อมส่งผลกระทบโดยรวมต่อประชาชนในภาพทั้งประเทศ ดังนั้นจึงถือเป็นคณะบุคคลที่มีความสำคัญสูงสุดในการที่จะนำประเทศไปสู่ทิศทางใด

คณะรัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง คณะบุคคลซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีคนหนึ่ง และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกินจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทําหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน.
รัฐมนตรี ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ผู้เป็นสมาชิกของคณะรัฐมนตรี หรือ คณะรัฐบาล รับผิดชอบร่วมกับ คณะรัฐมนตรีในนโยบายทั่วไปของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน, ถ้าเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง หรือทบวง ก็เป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดในกระทรวงหรือทบวงที่ตนว่าการ และรับผิดชอบในการบริหารราชการกระทรวงหรือทบวงนั้นด้วยอีกฐานะหนึ่ง (คำว่ารัฐมนตรีนี้ในสมัยโบราณ หมายถึง ที่ปรึกษาราชการบ้านเมืองในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์). รัฐมนตรี (Minister) ของกระทรวงต่างๆนี้ เมื่อได้รับการแต่งตั้งครบทุกกระทรวงตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินร่วมกันนี้ในฐานะผู้นำในการบริหารประเทศ ก็จะเรียกรวมกันว่าเป็น คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี (Cabinet) จึงเป็นคณะบุคคลที่ประกอบด้วยบุคคลผู้มีตำแหน่งต่างๆกันหลายคน มีอำนาจหน้าที่บริหารราชการแผ่นดิน ให้เป็นไปตามนโยบายที่ได้แถลงไว้ต่อรัฐสภา (3)ตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมาย อันประกอบด้วย หัวหน้าคณะ 1 คน ซึ่งมักเรียกว่า นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีอื่น ตามจำนวนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
นายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะ มีอำนาจเรียกประชุม กำหนดเรื่องที่จะประชุม เป็นประธานในที่ประชุม และขอมติจากที่ประชุม ตลอดจนบังคับบัญชา หรือสั่งการในเรื่องต่างๆ
องค์ประกอบของคณะรัฐมนตรี รัฐธรรมนูญในอดีตกำหนดจำนวนรัฐมนตรีไว้แตกต่างกัน ซึ่งปัจจุบัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา171 ได้กำหนดให้คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คน และรัฐมนตรีอื่นอีกไม่เกิน 35 คน รวมคณะรัฐมนตรีทั้งคณะไม่เกิน 36 คน คณะรัฐมนตรีในที่นี้ อาจประกอบด้วย รัฐมนตรีประเภทต่างๆได้แก่ นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง รัฐมนตรีว่าการทบวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง และรัฐมนตรีช่วยว่าการทบวง ซึ่งจะมีจำนวนมากน้อยเท่าใดก็ได้ แต่จำนวนรวมกันต้องไม่เกินจำนวนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด (กรณีที่ แต่งตั้งบุคคลคนเดียวให้ดำรงตำแหน่งหลายตำแหน่ง จะยึดจำนวนคนเป็นหลักไม่ใช่นับตามตำแหน่ง เช่น เป็นทั้งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ก็จะนับว่าเท่ากับคนเดียว)
ความสำคัญของคณะรัฐมนตรี ในฐานะผู้ที่มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งมีอำนาจสูงสุดในแต่ละหน่วยงาน จึงอาจสรุปว่า คณะรัฐมนตรีมีความสำคัญใน 3 ด้านคือ
1. ด้านกฎหมาย โดยมีอำนาจหน้าที่ในการเป็นผู้ใช้กฎหมายโดยตรง และเป็นผู้เสนอกฎหมายต่างๆเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารกิจการราชการต่างๆของประเทศให้เป็นไปโดยราบรื่น
2. ด้านนโยบายการเมือง คณะรัฐมนตรีนั้นเป็นองค์กรสูงสุดที่มีกำหนดนโยบายทั้งระดับภายในและภายนอกประเทศ โดยภายในประเทศเป็นผู้กำหนดการบริหารราชการแผ่นดินโดยตรง ส่วนภายนอกประเทศมีอำนาจกระทำการผูกพันในฐานะตัวแทนของรัฐหรือประเทศและมีผลผูกพัน
3. ด้านอำนาจ ถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจทางด้านการบริหาร ซึ่งมีอำนาจกำหนดนโยบายต่างๆซึ่งเท่ากับเป็นการกำหนดทิศทางของประเทศ และยังมีอำนาจบังคับบัญชาสั่งการข้าราชการซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาในทุกระดับทั่วประเทศ ดังนั้นอำนาจที่มากมายเหล่านี้ย่อมกระทบต่อประชาชนโดยรวมอย่างกว้างขวาง ผู้ใช้อำนาจจึงควรใช้อำนาจด้วยความเป็นธรรม ตามหลัก ธรรมาภิบาล
คณะรัฐมนตรีนั้น กฎหมายถือว่า เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็น "ข้าราชการการเมือง" ซึ่งเข้ารับตำแหน่งและพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุทางการเมือง จะต่างจากข้าราชการประจำทั่วๆไป ดังนั้น คำว่า "คณะรัฐมนตรี" เป็นคำที่ใช้ ในกฎหมาย มุ่งหมายถึงเฉพาะข้าราชการการเมืองผู้มีตำแหน่งรัฐมนตรีดังกล่าว ตรงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า "Council of Ministers" หรือ "Cabinet" ยังมีอีกคำหนึ่งที่ใช้ควบคู่กันคือคำว่า "รัฐบาล" หรือ "Government" ในบางครั้งคณะรัฐมนตรีและรัฐบาลมีความหมายอย่างเดียวกัน แต่ บางครั้ง คำว่ารัฐบาลอาจมีความหมายกว้างกว่านั้น เพราะอาจรวมไปถึงข้าราชการประจำและเจ้าหน้าที่ทั้งหลายของฝ่ายบริหาร อีกด้วย เพื่อแยกให้ เห็นว่า เป็นคนละฝ่ายกับภาคเอกชน และคนละฝ่ายกับสมาชิกรัฐสภา จึงอาจกล่าวได้ว่านายกรัฐมนตรีอยู่ในฐานะที่เป็นทั้งหัวหน้าของคณะรัฐมนตรีและหัวหน้ารัฐบาลไปพร้อมๆกัน

ประวัติการ กบฎ ปฏิวัติและการรัฐประหารในประเทศไทย

'กบฏ ปฏิวัติ รัฐประหาร' โดยสาระสำคัญแล้ว การทำรัฐประหาร คือการใช้กำลังอำนาจเข้าเปลี่ยนแปลงอำนาจของรัฐ โดยมาก หากรัฐประหารครั้งนั้นสำเร็จ จะเรียกว่า 'ปฏิวัติ' แต่หากไม่สำเร็จ จะเรียกว่า 'กบฏ' จาก พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2534 มีการก่อรัฐประหารหลายครั้ง ทั้งที่เป็น การปฏิวัติ และเป็น กบฏ มีดังนี้ พ.ศ. เหตุการณ์ หัวหน้าก่อการ รัฐบาล 2475 ปฏิวัติ 24 มิถุนายน พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ 2476 รัฐประหาร พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยามโนปกรณ์นิติธาดา 2476 กบฎบวรเดช พล.อ.พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2478 กบฎนายสิบ ส.อ.สวัสดิ์ มหะหมัด พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2481 กบฎพระยาสุรเดช พ.อ.พระยาสุรเดช พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา 2490 รัฐประหาร พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ 2491 กบฎแบ่งแยกดินแดน ส.ส.อีสานกลุ่มหนึ่ง นายควง อภัยวงศ์ 2491 รัฐประหาร คณะนายทหารบก นายควง อภัยวงศ์ 2491 กบฏเสนาธิการ พล.ต.สมบูรณ์ ศรานุชิต จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2492 กบฎวังหลวง นายปรีดี พนมยงค์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 กบฎแมนฮัตตัน น.อ.อานน บุณฑริกธาดา จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2494 รัฐประหาร จอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2497 กบฎสันติภาพ นายกุหราบ สายประสิทธิ์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2500 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม 2501 รัฐประหาร จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จอมพล ถนอม กิตติขจร 2514 รัฐประหาร จอมพล ถนอม กิตติขจร จอมพล ถนอม กิตติขจร 2516 ปฏิวัติ 14 ตุลาคม ประชาชน จอมพล ถนอม กิตติขจร 2519 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช 2520 กบฎ 26 มีนาคม พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2520 รัฐประหาร พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร 2524 กบฎ 1 เมษายน พล.อ.สัณห์ จิตรปฏิมา พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2528 การก่อความไม่สงบ 9 กันยายน พ.อ.มนูญ รูปขจร * พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ 2534 รัฐประหาร พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ * คณะบุคคลกลุ่มนี้ อ้างว่า พลเอก เสริม ณ นคร อดีตผู้บัญชาทหารสูงสุดเป็นหัวหน้า แต่หัวหน้าก่อการจริงคือ พ.อ. มนูญ รูปขจร ประวัติการปฏิวัติรัฐประหารและกบฎ ในประเทศไทย (2475 - 2534)

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475

วันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทุกวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี
การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือ การปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎร ได้ใช้กลลวง นำทหารบกและทหารเรือมารวมตัวกันบริเวณรอบ พระที่นั่งอนันตสมาคม ประมาณ 2000 คน ตั้งแต่เวลาประมาณ 5 นาฬิกา โดยอ้างว่าเป็นการสวนสนาม จากนั้นนายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้อ่าน ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 ณ บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า เสมือน ประกาศยึดอำนาจการปกครอง ก่อนจะนำกำลังแยกย้ายไปปฏิบัติการต่อไป
หลักฐานประวัติศาสตร์ในเหตุการณ์ครั้งนี้ เป็นหมุดทองเหลือง ฝังอยู่กับพื้นถนน บนลานพระบรมรูปทรงม้า ด้านสนามเสือป่า (ถ้าหันหน้าไปทางเดียวกับหัวม้า จะอยู่ทางด้านซ้ายมือ) มีข้อความว่า "ณ ที่นี้ 24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง คณะราษฎร ได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญ เพื่อความเจริญของชาติ" เป็นหลักฐานถึงเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อ 72 ปีก่อน ข้อความเหล่านี้นับวันแต่จะเลือนหายไปตามกาลเวลา คณะราษฎรที่ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 นั้นประกอบด้วยคนสองกลุ่ม คือ
กลุ่มนักเรียนไทยในต่างประเทศ
กลุ่มนายทหารในประเทศไทย
บุคคลทั้งสองกลุ่มพื้นฐานการศึกษาคล้ายกัน คือ ศึกษาวิชาพื้นฐานหรือวิชาชีพจากประเทศทางตะวันตก ใกล้ชิดกับการปกครองของประเทศที่ตนไปศึกษา คือ ได้สัมผัสกับบรรยากาศการปกครองในระบอบประธิปไตย เห็นความเจริญก้าวหน้าจากการที่ประชาชนในยุโรปตะวันตกมีส่วนร่วมในการปกครอง ประกอบกับบุคคลทั้งสองกลุ่มเป็นบุคคลที่มีสติปัญญาสูง ส่วนใหญ่ได้รับทุนเล่าเรียนหลวง จึงกำหนดในความคิดว่าตนควรจะมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ
คณะผู้ก่อการยึดอำนาจการปกครอง ได้รวมกลุ่มกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ พ.ศ. 2469 ได้มีข้อขัดแย้งกับผู้ดูแลนักเรียนไทยในฝรั่งเศสซึ่งเป็นพระราชวงศ์องค์หนึ่ง ซึ่งกล่าวหาว่านักเรียนไทยเป็นพวกหัวรุนแรง ไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัย ควรเรียกบางคนกลับประเทศไทยำให้นักเรียนในต่างประเทศมีพื้นฐานการไม่พอใจสถานการณ์บ้านเมืองเป็นส่วนตัว คณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เป็นนักเรียนไทยในต่างประเทศเมื่อกลับมาถึงประเทศไทย ก็ได้เตรียมการวางแผนยึดอำนาจโดยชักชวนให้กลุ่มนายทหารเข้าร่วมด้วย การยึดอำนาจการปกครองของประเทศไทยมีผู้กระทำมาครั้งหนึ่งแล้วใน ร.ศ.130 กระทำไม่สำเร็จ ดังนั้นคณะราษฎรจึงได้วางแผนอย่างดีป้องกันข้อบกพร่องที่อาจมีขึ้น และการชัดชวนทหารเข้าร่วมด้วยจึงทำให้เกิดความสำเร็จเพราะทหารมีอาวุธ ผู้บริหารประเทศยินยอมให้คณะราษฎรยึดอำนาจไม่โต้แย้ง ด้วยเกรงว่าพระบรมวงศานุวงศ์จนถึงประชาชนจะเป็นอันตรายเพราะอาวุธ
ชนวนที่ทำให้คณะราษฎรลงมือวางแผนยึดอำนาจมีหลายสาเหตุ ได้แก่
สาเหตุแรก สภาพบ้านเมืองในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาอภิรัฐมนตรีสภาซึ่งสมาชิกทั้งหมดเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ด้วยเหตุผลที่จำให้แก้สถานการณ์ที่กล่าวว่า พระมหากษัตริย์กับพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่แตกแยกกัน อภิรัฐมนตรีสภาช่วยแบ่งเบาพระราชกรณียกิจได้หลายประการแต่ความคิดของผู้ใหญ่และของผู้เยาว์กว่าย่อมแตกต่างกัน ดังนั้นการยับยั้งข้อเสนอบางเรื่องโดยเฉพาะพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเย้าอยู่หัวที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ประชาชนชาวไทยในวาระราชวงศ์จักรีทรงปกครองแผ่นดินมาครบ 150 ปี จึงทำให้คณะราษฎรและกลุ่มหนังสือพิมพ์มองว่า พวกเจ้าหลงกับอำนาจ
สาเหตุที่สอง ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศรายได้ไม่พอกับรายจ่าย สืบเนื่องจากเศรษฐกิจของโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และการใช้จ่ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว การแก้ไขคือ การดุลข้าราชการ ยุบเลิกหน่วยงานต่าง ๆ ตัดทอนค่าใช้จ่ายของกระทรวง กรม กอง และเก็บภาษีบางประการเพิ่มการแก้ไขดังนี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่ผู้เสียประโยชน์ ในวงการทหารก็เช่นกัน การขัดแย้งเรื่องงบประมาณกระทรวงกลาโหม จนถึงเสนาบดีกระทรวงกลาโหมขอลาออกจากราชการ จึงเป็นเหตุให้นายทหารคิดเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในขณะที่มีการดุลข้าราชการออก ก็มีกลุ่มบุคคลมองว่าดุลออกเฉพาะสามัญชน ส่วนข้าราชการที่เป็นเจ้าไม่ต้องถูกดุล แล้วยังบรรจุเข้าทำงานแทนสามัญชนอีก ความแตกต่างทางฐานะด้านสังคมก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง
สาเหตุที่สำคัญที่สุดก็คือ ความล่าช้าในการบริหารราชการแผ่นดิน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์จะฝึกข้าราชการในสภากรรมการองคมนตรีให้เรียนรู้วิธีการประชุม ปรึกษาแบบรัฐสภาเพื่อเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญ ก็ทำได้อย่างไม่มีผลเท่าไรนักพระราชบัญญติเทศบาลซึ่งจะเป็นรากฐานของการปกครองตนเองก็ยังไม่ได้ประกาศออกใช้ และข้อสุดท้ายคือ ร่างรัฐธรรมนูญที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงให้ผู้ชำนาญการร่างไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็ยังไม่ได้พระราชทานแก่ประชาชน
การเปลี่ยนแปลงการปกครองกระทำได้สำเร็จ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน การปกครองของประเทศจึงเปลี่ยนไป คือมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ

เหตุการณ์กบฎ ร.ศ 130 (กบฎเหล็ง ศรีจันทร์)

กบฏ ร.ศ. 130 หรือ กบฏเก็กเหม็ง หรือ กบฏน้ำลาย เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2455 (ร.ศ. 130) ก่อนการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 สองทศวรรษในสมัยรัชกาลที่ 6 เมื่อนายทหารและปัญญาชนกลุ่มหนึ่ง วางแผนปฏิบัติการโดยหมายให้พระมหากษัตริย์ทรงพระราชทานรัฐธรรมนูญให้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตย แต่แผนการแตกเสียก่อน จึงมีการจับกุมผู้คิดก่อการหลายคนไว้ได้ 91 คน คณะตุลาการศาลทหารมีการพิจารณาตัดสินลงโทษให้จำคุกและประหารชีวิต โดยให้ประหารชีวิตหัวหน้าผู้ก่อการจำนวน 3 คน คือ ร.อ.เหล็ง ศรีจันทร์ ร.ท.จรูญ ณ บางช้าง และ ร.ต.เจือ ศิลาอาสน์ ลงโทษจำคุกตลอดชีวิต 20 คน จำคุกยี่สิบปี 32 คน จำคุกสิบห้าปี 6 คน จำคุกสิบสองปี 30 คน [1] แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย และได้มีพระบรมราชโองการพระราชทานอภัยโทษ ละเว้นโทษประหารชีวิต ด้วยทรงเห็นว่า ทรงไม่มีจิตพยาบาทต่อผู้คิดประทุษร้ายแก่พระองค์
คณะผู้ก่อการได้รวมตัวกันเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2455 ประกอบด้วยผู้ร่วมคณะเริ่มแรกจำนวน 7 คน คือ [2]
ร.อ.ขุนทวยหาญพิทักษ์ (หมอเหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า
ร.ต.เหรียญ ศรีจันทร์ จาก กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์
ร.ต.จรูญ ษตะเมษ จากกองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.เนตร์ พูนวิวัฒน์ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.ปลั่ง บูรณโชติ จาก กองปืนกล รักษาพระองค์
ร.ต.หม่อมราชวงศ์แช่ รัชนิกร จาก โรงเรียนนายสิบ
ร.ต.เขียน อุทัยกุล จาก โรงเรียนนายสิบ
คณะผู้ก่อการวางแผนจะก่อการในวันที่ 1 เมษายน ซึ่งเป็นวันพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา และวันขึ้นปีใหม่ ผู้ที่จับฉลากว่าต้องเป็นคนลงมือลอบปลงพระชนม์ คือ ร.อ.ยุทธ คงอยู่ (หลวงสินาด โยธารักษ์) เกิดเกรงกลัวความผิด จึงนำความไปแจ้งหม่อมเจ้าพันธุ์ประวัติ ผู้บังคับการกรมทหารช่างที่ 1 รักษาพระองค์ และพากันนำความไปแจ้ง สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ความทราบไปถึงพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประทับอยู่ที่พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม คณะทั้งหมดจึงถูกจับกุมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ ถูกส่งตัวไปคุมขังที่คุกกองมหันตโทษ ที่สร้างขึ้นใหม่ และได้รับพระราชทานอภัยโทษในพระราชพิธีฉัตรมงคล เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2467 ครบรอบปีที่ 15 ของการครองราชย์

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการปกครองในด้านระเบียบการบริหารและวิธีปฏิบัติการต่าง ๆ ครั้งแรกในสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งเรียกกันว่า “การปฏิรูปการปกครอง” สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 อันมีมูลเหตุเนื่องมาจากอิทธิพลการปกครองของชาติตะวันตก และประสบการณ์ของพระองค์ในต่างประเทศ ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำเอาสิ่งที่ดีมาปรับปรุงการปกครองประเทศตามแนวที่ชาติตะวันตกยอมรับ การวางแนวคิดให้เกิดรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย พระองค์จึงตัดสินพระทัยปฏิรูปการปกครองเพื่อการนี้และเพื่อการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ทั้งภายในและภายนอก หลายด้าน อาทิ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับเอกภาพของประเทศ ความล้าหลังทางสังคมและเศรษฐกิจ ฯลฯ สาระสำคัญของการปรับปรุงได้แก่การยกเลิกการบริหารราชการแบบจตุสดมภ์เสีย แล้วจัดระเบียบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแยกออกเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค นอกจากนี้ยังได้มีการริเริ่มส่วนท้องถิ่นในรูปของการสุขาภิบาล เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนรับผิดชอบหรือมีส่วนร่วมในการปกครองแผ่นดิน ส่วนอำนาจในการบริหาร เป็นไปในลักษณะกระจายอำนาจ พระองค์ทรงปรับปรุงการศึกษา และสิทธิของประชาชนให้เป็นเครื่องส่งเสริมการปฏิรูปการปกครอง ด้านสิทธิของประชาชนนั้นเป็นการปรับปรุงอันเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ได้ทำการเลิกทาส การเลิกทาสดังกล่าวเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นนักประชาธิปไตยของพระองค์ และเรื่องสิทธิของประชาชนเป็นหลักการสำคัญยิ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตย
การปฏิรูปการปกครองที่สำคัญ ได้แก่
1)การจัดระเบียบบริหารราชการส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งสมุหกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์แล้วแบ่งส่วนราชการเป็น 12 กระทรวง มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าราชการกระทรวง แต่ละกระทรวงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเป็นสัดส่วนแน่นอน ไม่ก้าวก่ายกันเหมือนแต่ก่อน เช่นกระทรวงมหาดไทยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว กระทรวงกลาโหมดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ตะวันออกแหลมมะลายูกระทรวงการต่างประเทศดูแลในเรื่องความสัมพันธ์กับต่างประเทศ กระทรวงนครบาล รับผิดชอบด้านความสงบเรียบร้อยภายในเมืองหลวงกระทรวงพระคลังมหาสมบัติดูแลในการจัดเก็บภาษี และหาเงินเข้าท้องพระคลังเป็นต้น2)การจัดการปกครองส่วนภูมิภาค ยกเลิกระบบเมืองเอก โท ตรี แต่ให้รวมหัวเมืองภาคเหนือ ภาคใต้และเมืองท่าตั้งเป็น “มณฑล”ขึ้นกับกระทรวงมหาดไทยมีสมุหเทศาภิบาล หรือข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมือง มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครอง แต่ละเมืองยังแบ่งเป็นอำเภอมีนายอำเภอเป็นผู้ปกครอง แต่ละอำเภอแบ่งเป็นตำบล แต่ละตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้านกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้ปกครองตำบลและหมู่บ้าน 3)การปกครองส่วนท้องถิ่น รัชกาลที่ 5 ทรงเล็งเห็นประโยชน์ที่จะให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงโปรดเกล้าฯให้จัดตั้ง “สุขาภิบาล” ซึ่งลักษณะคล้ายเทศบาลในปัจจุบัน สุขาภิบาลแห่งแรกคือสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลท่าฉลอม (จังหวัดสมุทรสาคร) เป็นสุขาภิบาลหัวเมือง เป็นการทดลองรูปแบบการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งปรากฎว่าการดำเนินงานของสุขาภิบาลทั้ง 2 แห่งได้ผลดียิ่ง จึงได้ตราเป็นพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2458 แบ่งสุขาภิบาลเป็น 2 แบบ คือ สุขาภิบาลเมือง และตำบล เพื่อขยายกิจการสุขาภิบาล ให้แพร่หลายไปยังท้องถิ่นอื่น ๆ
การปฏิรูปการปกครองสมัยรัชกาลที่ 5 เป็นการวางรากฐานการปกครองในสมัยต่อมา มีการแก้ไขปรับปรุงบางส่วนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ทำให้ประเทศมีระบบการบริหารที่ทันสมัย มีเอกภาพและมั่นคง

การปกครองในอยุธยา

สมัยอยุธยา พ.ศ.1893-2310
บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของประเทศไทย ปรากฏผู้คนตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเป็นเมือง เป็นแคว้น และอาณาจักร มีความมั่นคงเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและการค้าจน สามารถสร้างสรรค์ศิลปกรรมอันงดงาม


สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาในพ.ศ.1893 ความเหมาะสมคือ ทำเลที่ตั้งเมืองแม่น้ำล้อมรอบ 3 ด้าน ได้แก่ แม่น้ำลพบุรีด้านเหนือ แม่น้ำเจ้าพรยาทางด้านตะวันตกและใต้ ส่วนด้านตะวันออก ได้ขุดลำคูเชื่อมกับแม่น้ำ อยุธยาจึงกลายเป็นเกาะที่มีลำน้ำล้อมรอบครบทั้ง4 ด้าน นับเป็นชัยภูมิที่มั่งคงสามารถป้องกันข้าสึกได้เป็นอย่างดี กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง ซึ่งลำน้ำสายต่างๆ จากภาคเหนือไหลผ่านไปลงทะเลอ่าวไทย จึงสามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม การค้า ทางยุทธศาสตร์ จึงทำให้อยุธยาเป็นศูนย์กลางที่อาณาจักรไทย ยาวนานถึง 417 ปี

สถาบันพระมหากษัตริย์ในสมัยอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาปกครองด้วยระบอบราชธิปไตยหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตลอดสมัยของอาณาจักรสุโขทัยมีกษัตริย์ปกครองรวม 33 พระองค์ลักษณะการใช้อำนาจของพระมหากษัตริย์คือต้องการรวมศูนย์อำนาจไว้ที่สถานบันพระมหากษัตริย์ จึงได้นำลัทธิสมมติเทพ ซึ่งเป็นหลักศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มาเสริมสร้างสถาบันพระมหากษัตริย์ให้มีความศักดิ์สิทธิและมั่งคง และมีพระราชอำนาจส่งขึ้น

ในระยะแรกก่อตั้งอาณาจักร สถาบันพระมหากษัตริย์ของอยุธยาผูกพันกับคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาตามแบบที่เคยเป็นมา โดยเรียกผู้ปกครองว่ามหาสมมติราช หมายถึงผู้ได้รับมอบหมายจากคนทั้งปวงให้เป็นผู้ปกครองสังคม นอกจากนี้ยังเป็น พระจักรพรรดิราช หรือพระราชาผู้ยิ่งใหญ่เปรียบเสมือนเทพเจ้า เป็นองค์สมมติเทพ จึงต้องมีระเบียบประเพณีและพิธีการ ต่างๆ โดยมีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธีถวาย คำสั่งพระมหากษัตริย์เรียกว่าโองการ มีภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์เรียกว่า ราชาศัพท์ ที่อยู่ของพระมหากษัตริย์เรียกว่าพระราชวัง ผู้ใดที่ละเมิดจะถูกลงโทษ

การปกครองและการบริหารของสมัยอยุธยาจะแบ่งออกเป็นสามระยะคือ สมัยอยุธยาตอนต้น สมัยอยุธยากลาง และสมัยอยุธยาตอนปลาย
การเมืองการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น (พ.ศ.1893-1991)
การปกครองส่วนกลาง
พระมหากษัตริย์ ปกครองแบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง คือจตุสดมภ์
จตุสดมภ์ แบ่งเป็น
กรมเวียง - มี ขุนเวียง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่ รักษาความสงบสุขของราษฏร
กรมวัง - มี ขุนวัง เป็นผู้ดูแล เป็นหัวหน้าฝ่าย ราชสำนักการพิจารณาพิพากษาคดี
กรมคลัง - มี ขุนคลัง เป็นผู้ดูแล มีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของแผ่นดินที่ได้จากการเก็บส่วยอากร
กรมนา - มี ขุนนา เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลการทำไร่ นา และสะสมเสบียงอาหารของ พระนคร
การปกครองหัวเมือง
อยุธยาเป็นเมืองหลวง เป็นจุดของศูนย์รวมอำนาจการปกครอง ล้อมรอบด้วยเมืองลูกหลวง ประกอบด้วย ทิศเหนือ เมืองลพบุรี ทิศตะวันออก เมือง นครนายก ทิศใต้ เมือง นครเขื่อนขันธ์ และทิศตะวันตก เมือง สุพรรณบุรี
ถัดออกมาคือ หัวเมืองชั้นใน ได้แก่ สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี และเพชรบุรี และเมืองประเทศราช เช่น เมือง นครศรีธรรมราชและเมืองพิษณุโลก
การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนกลาง
1991-2231
การปกครองเริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เป็นต้นมา หลังจากที่ได้ผนวกเอาอาณาจักรสุโขทัยมาเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา โดยมีลักษณะสำคัญ 2 ประการคือ
1. จัดการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง
2. แยกกิจการฝ่ายพลเรือนกับฝ่ายทหารออกจากกัน
การปกครองส่วนกลาง
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ โปรดฯให้มีตำแหน่งสมุหกลาโหมรับผิดชอบด้านการทหาร นอกจากนี้ยังได้ทรงตั้งหน่วยงานเพิ่มขึ้นมา อีก 2 กรม คือ
กรมมหาดไทย มีพระยาจักรีศรีองครักษ์เป็นสมุหนายก มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการพลเรือนทั่วประเทศ
กรมกลาโหม มีพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม มีฐานะเป็นอัครมหาเสนาบดี มีหน้าที่ควบคุมกิจการทหารทั่วประเทศ
นอกจากนี้ใน 4 กรมจตุสดมภ์ที่มีอยู่แล้ว ทรงให้มีการปรับปรุงเสียใหม่ โดยตั้งเสนาบดีขึ้นมาควบคุมและรับผิดชอบในแต่ละกรมคือ
กรมเมือง (เวียง มีพระนครบาลเป็นเสนาบดี
กรมวัง มีพระธรรมาธิกรณ์เป็นเสนาบดี
กรมคลัง มีพระโกษาธิบดีเป็นเสนาบดี
กรมนา มีพระเกษตราธิการเป็นเสนาบดี
การปกครองส่วนภูมิภาค
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงยกเลิกการปกครองแบบเดิมทั้งหมด แล้วจัดระบบใหม่ดังนี้
1. หัวเมืองชั้นใน ยกเลิกเมืองหน้าด่านแล้วเปลี่ยนเป็นเมืองชั้นใน มีฐานะเป็นเมืองจัตวา ผู้ปกครองเมืองเหล่านี้เรียกว่า ผู้รั้ง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้แต่งตั้งขุนนางในกรุงศรีอยุธยา ทำหน้าที่ผู้รั้งเมือง ต้องรับคำสั่งจากในราชธานีไปปฏิบัติเท่านั้นไม่มีอำนาจในการปกครองโดยตรง
2.หัวเมืองชั้นนอก (เมืองพระยามหานคร) เป็นหัวเมืองที่อยู่ภายนอกราชธานีออกไป จัดเป็นหัวเมืองชั้นตรี โท เอก ตามขนาดและความสำคัญของหัวเมืองนั้น เมืองเหล่านี้มีฐานะเดียวกันกับหัวเมืองชั้นใน คือขึ้นอยู่ในการปกครองจากราชธานีเท่านั้น
3. หัวเมืองประเทศราช ยังให้มีการปกครองเหมือนเดิม มีแบบแผนขนบธรรมเนียมเป็นของตนเอง มีเจ้าเมืองเป็นคนในท้องถิ่นนั้น ส่วนกลางจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวในด้านการปกครอง แต่ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย

การปกครองส่วนท้องถิ่น แบ่งการปกครองเป็นหน่วยย่อย โดยแบ่งเป็น
1. บ้าน หรือหมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นหัวหน้า จากการเลือกตั้งจากหลายบ้าน
2. ตำบล เกิดจากหลายๆ หมู่บ้านรวมกันมีกำนันเป็นหัวหน้ามีบรรดาศักดิ์เป็น พัน
3. แขวง เกิดจากหลายๆ ตำบลรวมกัน มีหมื่นแขวงเป็นผู้ปกครอง
4. เมือง เกิดจากหลายๆ แขวงรวมกัน มีผู้รั้งหรือพระยามหานครเป็นผู้ปกครอง


ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ได้มีการปรับปรุงระเบียบการปกครองทางด้านการทหาร ได้แก่

1. การจัดทำสารบัญชี (หรือสารบาญชี) เพื่อให้ทราบว่ามีกำลังไพร่พลมากน้อยเพียงใด
2. สร้างตำราพิชัยสงคราม ซึ่งเป็นตำราที่ว่าด้วยการจัดทัพ การเดินทัพ การตั้งค่าย การจู่โจมและการตั้งรับ ส่วนหนึ่งของตำราได้มาจากทหารอาสาชาวโปรตุเกส
3. การทำพิธีทุกหัวเมือง ซักซ้อมความพร้อมเพรียงเพื่อสำรวจจำนวนไพร่พล (คล้ายกับพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณต่อธงชัยเฉลิมพลในปัจจุบัน)


การเมืองการปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย
พ.ศ.1991 - พ.ศ.2310 การปกครองสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ครองราชย์ พระองค์ได้ปฏิรูปการปกครองเสียใหม่
สาเหตุของการปรับปรุงการปกครอง สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ.1981-2031 ทรงปรับปรุงการปกครองครั้งใหญ่ เนื่องจาก 1. อาณาเขต ของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้น เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ไทยตีนครธมราชธานีของเขมรได้ใน พ.ศ.1974 และได้รวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1981 ทำให้อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยากว้างขวางมากขึ้นเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จขึ้นครองราชย์ ใน พ.ศ.1991 ทรงเห็นว่าการปกครองแบบเก่ายังไม่รัดกุมเพียงพอ เพราะผู้ครองนครเมืองต่าง ๆ มีอำนาจสิทธิ์ขาดมากเกินไป และเบียดบังรายได้จากภาษีอากร ทำให้ราชธานีได้รับผลประโยชน์ไม่เต็มที่ 2. เมืองลูกหลวง ก่อปัญหาให้อยุธยามาตลอด เนื่องจากเจ้าเมืองเหล่านี้เป็นเจ้านายชั้นสูงได้รวมกำลังกันยกกำลังทหารเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติอยู่เสมอ 3. พราหมณ์และขุนนางจากราชสำนักเขมร ได้นำเอาวัฒนธรรมเข้ามาเผยแพร่ เนื่องจากในรัชสมัยก่อน ๆ เบื่อยกทัพไปตีเขมร


การปกครองส่วนกลาง


1. ฝ่ายทหาร มีสมุหกลาโหม เป็นผู้บังคับบัญชา ตำแหน่งเทียบเท่าอัครมหาเสนาบดี มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยามหาเสนาบดี ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับราชการทหารและการป้องกันประเทศ
2. ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายกเป็นหัวหน้า ทำหน้าที่ควบคุมดูแลเกี่ยวกับงานราชการพลเรือนทั่วๆ ไป มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ มีเสนาบดีจตุสดมภ์เป็นเจ้ากระทรวง ตำแหน่งรองลงมาจากสมุหนายก ทำหน้าที่เช่นเดียวกับที่เคยปฏิบัติมา เพียงแต่เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนเป็น นครบาล
กรมวัง เปลี่ยนเป็น ธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนเป็น โกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนเป็น เกษตราธิการ


ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้น และใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ศักดินา คือ วิธีให้เกียรติยศบุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น
ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่
คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่
ทาสมีศักดินา 5 ไร่
การกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิ และหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษ และปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน การปกครองหัวเมือง
พระบรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น หัวเมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ 1. หัวเมืองชั้นเอก มี เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช 2. หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น 3. หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น หัวเมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์



ในสมัยพระเพทราชา ทรงสลับสับเปลี่ยนหน้าที่อัครมหาเสนาบดี ดังนี้
1. สมุหนายก - ควบคุมหัวเมืองด้านเหนือ
2. สมุหกลาโหม - ควบคุมหัวเมืองด้านใต้
3. พระยาโกษาธิบดี เสนาบดีกรมท่า - ควบคุมหัวเมืองด้านตะวันออก


งานพิเศษ

งานพิเศษ'



ผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการ มีดังนี้

1.พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 201 คน บัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
2.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 116 คน บัญชีรายชื่อ 44 คน รวม 160 คน
3.พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบ่งเขต 29 คน บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
4.พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบ่งเขต 15 คน บัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
5.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
6.พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบ่งเขต 6 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
7.พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 4 คน
8.พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบ่งเขต 1 คน บัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
9.พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
10. พรรคประชาธิปไตยใหม่ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน
11.พรรคมหาชน ได้ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน

ส.ส.แบบบัญชีรายชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ทั้งหมด 125 คน

พรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรครวมกันจัดตั้งรัฐบาลจะมีจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น 300 ที่นั่ง แบ่งเป็น
พรรคเพื่อไทย 262 ที่นั่ง
พรรคชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 ที่นั่ง
พรรคพลังชล 7 ที่นั่ง
พรรคมหาชน 1 ที่นั่ง
และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
ส่วนนายกรัฐมนตรี ก็คือยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 28
ของคณะรัฐมนตรีชุดที่ 60 ของประเทศไทย

พรรคฝ่ายค้านคือ
-พรรคประชาธิปัตย์ 160 คน
-พรรคภูมิใจไทย
-พรรครักประเทศไทย 9 คน
-พรรคมาตุภูมิ 4 คน
-พรรคประชาธิปไตยใหม่
-พรรครักษ์สันติ
โดยรวมแล้ว 201 คน
รวมกันกับฝ่ายรัฐบาลมี สส. ประมาณ 201 คน เป็น 500 คน

มรดกโลกมรดกโลก (อังกฤษ: World Heritage Site; ฝรั่งเศส: Patrimoine Mondial) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน 151 ประเทศ โดยอิตาลีเป็นประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม
มรดกโลกแต่ละแห่งเป็นทรัพย์สินของประเทศที่เป็นเจ้าของดินแดนที่มรดกโลกตั้งอยู่ แต่ได้ถูกพิจารณาให้เป็นผลประโยชน์ของประชาคมระหว่างประเทศในการอนุรักษ์มรดกโลกแห่งนั้น


มรดกโลกแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และ มรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage) ซึ่งในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกได้ให้คำนิยามไว้ว่า
มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น

ขั้นตอนการเป็นสมาชิกมรดกโลก

ประเทศที่ต้องการเสนอชื่อสถานที่ในประเทศของตนให้ได้รับการพิจารณาให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อันดับแรกจะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้งหมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการเสนอชื่อ ขั้นต่อมา ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อเบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้
เมื่อถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่งโบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union)แล้วทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่เพิ่มเติม โดยการพิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

สำหรับมรดกโลกปี 2554 ทางวัฒนธรรม ได้แก่
1. โบราณคดีของเกาะ Meroe ซูดาน
2. ป้อมปราการราชวงศ์โฮปลายศตวรรษที่ 14 เวียดนาม
3. พื้นที่กาแฟภูมิทัศน์วัฒนธรรมของโคลัมเบีย
4. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมของ Serra de Tramuntana สเปน
5. แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของ Al Ain สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
6. โรงงาน Fagus เยอรมนี
7. สถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคมของอังกฤษ ศตวรรษที่ 18 -19 บาเบร์ดอส
8. Longobards อิตาลี ประกอบด้วย 7 กลุ่มของอาคารที่สำคัญ
9. เสาเข็มยุคก่อนประวัติศาสตร์รอบเทือกเขาแอลป์ ครอบคลุมออสเตรีย ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี สโลวิเนีย และสวิสเซอร์แลนด์
10. นิเวศวิทยา การประมงและรวบรวมหอยมีชีวิตและการใช้ของมนุษย์อย่างยั่งยืน เซเนกัล
11. สวนเปอร์เซีย อิหร่าน
12. ภูมิทัศน์ทะเลสาบวัฒนธรรมของหางโจว จีน
13. วัดฮิไรซุมิ วัดที่เป็นตัวแทนของพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ ญี่ปุ่น
14. Konso ภูมิทัศน์วัฒนธรรม เอธิโอเปีย
15. มอมบาซา เคนยา
16. คอมเพล็กซ์มัสยิด Selimiye Edirne ตุรกี
17. ภาพแกะสลักหินและอนุสาวรีย์ศพของวัฒนธรรมในมองโกเลีย อัลไต 12,000 ปีที่ผ่านมา
18. ภูมิทัศน์วัฒนธรรมเกษตรเมดิเตอร์เรเนียน ฝรั่งเศส
19. อนุสาวรีย์แสดงการเปลี่ยนแปลงจากบาร็อคกับสถาปัตยกรรมนีโอคลาสสิค นิคารากัว
20. สถาปัตยกรรมสไตล์เช็ก ยูเครน และ
21. หมู่บ้านแบบโบราณในภาคเหนือของซีเรีย

แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ได้แก่
1. นิงกาลูโคสต์ แนวปะการัง ออสเตรเลีย
2. หมู่เกาะโอกาซาวาร่า( Ogasawara) ซึ่งมีเกาะมากกว่า 30 เกาะ รวมความหลากหลายของสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น ค้างคาว ญี่ปุ่น
3. ทะเลสาบเคนยา และแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมแบบผสม ได้แก่ ทะเลทรายวาดิรัม พื้นที่คุ้มครอง จอร์แดน นอกจากนี้ มีพื้นที่ขยายที่ขึ้นทะเบียนอีก 1 แห่ง ป่าไม้บีชดึกดำบรรพ์คลุมเยอรมนี สโลวาเกีย และยูเครน

มรดกไทย
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชรนครแห่งประวัติศาสตร์ราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรไทยซึ่งหมายถึงเมืองแม่สุโขทัยมีบริวารรวมคือ เมืองศรีสัชนาลัย และเมืองกำแพงเพชรดังที่ปรากฎว่าหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่แห่งใดเป็นมรดกโลก
ทางวัฒนธรรมนั้นต้องประกอบด้วยความมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแนวความคิดหรือความเชื่อที่มีความสำคัญเป็นสากล หรืออาจเป็นตัวอย่างที่เด่นของวิถีชีวิตตามโบราณประเพณี รวมทั้งมีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงาม
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย อยู่ในจังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย มีอายุเก่าแก่กว่า ๗๐๐ ปี มีสัญลักษณ์ประจำจังหวัดคือ พ่อขุนรามคำแหงประทับบนแท่นมนังคศิลา
สถาปัตยกรรมการก่อสร้างของศรีสัชนาลัยที่หลงเหลืออยู่ในปัจจุบันนี้เกือบทั้งหมดใช้ศิลาแลงเป็นวัตถุก่อสร้าง ต่อมาใช้อิฐเป็นวัสดุเสริม ส่วนเครื่องมุงหลังคาทำด้วยไม้มุงกระเบื้องมีทั้งเผาและเคลือบลายสี เครื่องประดับหลังคาส่วนใหญ่เป็นเครื่องปั้นดินเผาเคลือบเช่นเดียวกัน ลวดลายประดับเสา ฝาผนัง ซุ้มประตู ซุ้มจระนำ หน้าบัน หน้ากาลมักทำด้วยปูนปั้น เจดีย์ศรีสัชนาลัยมีลักษณะใหญ่ ๒ แบบ คือ เจดีย์ทรงลังกา ทรงกลม หรือทรงระฆังคว่ำ และเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือทรงดอกบัวตูม นอกนั้นก็มีเจดีย์แบบวิมาน เจดีย์ทรงปราสาท แต่ไม่มากนัก
เครื่องสังคโลกคือเครื่องปั้นดินเผาที่ผลิตจากเตาสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และพิษณุโลก ทั้งชนิดเคลือบและไม่เคลือบ งานที่โดดเด่นที่สุด คือ เครื่องสังคโลกจากเตาศรีสัชนาลัย ศิลปะลวดลายบนเครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัยนี้นมีรูปแรกหลากหลาย ลวดลายร้อยชนิดทั้งประเภทลายเขียนและลายขูด รวมทั้งสีสันของน้ำเคลือบ

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
โบราณสถานนอกเมืองทิศใต้ เขตเมื่อเชลียง มีโบราณสถานมากมาย แบ่งเป็นอาณาเขตดังนี้วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ(วัดพระปรางค์)ประกอบด้วยโบราณสถานที่สำคัญ เช่น กุฏิพระร่วง หรือศาลาพระร่วง เป็นที่ประดิษฐานรูปพระร่วง พระลือ ปัจจุบันแสดงที่พิพิธภัณฑ์
สถานแห่งชาติ รามคำแหง สุโขทัย ส่วนของโบสถ์ ยังมีสภาพเป็นโบราณสถาน มีเสาศิลาแลงเรียงรายอยู่บนพื้นฐานยกสูง รอบๆฐานมีแท่งใบเสมาหลงเหลืออยู่ ต่อมาเมื่อ
ปีีพ.ศ.2499 ได้ทำการบูรณะปรับปรุงโบสถ์ให้เป็นที่ทำสังฆกรรมได้และจุดเด่นอีกแห่งคือ ด้านหลังของโบสถ์นั้น เป็นกำแพงแก้วขนาดใหญ่ล้อมรอบพระปรางค์ วิหารและเจดีย์ราย คันกำแพงทำด้วยเสาศิลาแลงกลมปักเรียงกัน ทับด้วยแท่นศิลาแลงรูปบัว
หลังเจียดอีกชั้นหนึ่ง ด้านหน้าเป็นประตูซุ้มยอดปรางค์ ฐานยอดปรางค์มีลายปูนปั้น
พระโพธิสัตว์เป็นรูปนางอัปสร งานประติมากรรมของสถานที่แห่งนี้จึงใกล้เคียงกับ
งานประติมากรรมสมัยบายนของเขมร มีเสาโคมไฟปักเรียงรายเป็นระยะโดยรอบ
ด้านในหัวเสาแต่ละต้นมีลวดลายปูนปั้นต่างแบบชนิดกันที่วัดพระปรางค์แห่งนี้จะ
เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปั้นปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร ด้านซ้ายพระประธานติดผนังด้านหลังมีพระลีลาปูนปั้นขนาดสูง ๓.๕๐ เมตร ส่วนด้านขวามีพระยืนปูนปั้นปางประทานอภัย ยืนในลักษณะโผล่ขึ้นมาจากพื้นดิน เพราะฐานยืนอยู่ลึกลงไป ๑.๒๐ เมตร ฐานชุกชีเป็นฐานสี่เหลี่ยมขนาด ๑๐.๒๐ เมตร คาดว่าเดิมคงมีพระพุทธรูปประดิษฐานอีกหลายองค์
สังเกตเห็นได้ว่า โบสถ์และโบราณสถานในกำแพงแก้วนั้น บ้างก็มีศิลปะเจดีย์แบบพม่า เรียกกันว่า “เจดีย์มุเตา” ลักษณะเป็นฐาน ๘ เหลี่ยม เส้นผ่าศูนย์กลาง๒๑.๙๑ เมตร เรียงซ้อนด้วยฐานเขียง ๘ เหลี่ยม อีก ๓ ชั้น ต่อด้วยฐานเขียงกลม ๑ ชั้น แล้วเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ขึ้นฐานบัวคว่ำกลมอีก ๑ ชั้น ต่อด้วยบัวถลา ๓ชั้น ขึ้นเรือนธาตุทรงกลมมีซุ้ม ๔ ทิศ ตอนบนชำรุด
ส่วนของวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปนั่งสององค์ เรียกกันว่า “พระสองพี่น้อง”แล้วยังมีขนาดย่อมลงมาอีก ๕ องค์
ประตูเมืองศรีสัชนาลัย ประตูเมืองศรีสัชนาลัย มีทั้งสิ้น ๙ ประตู และช่องขนาดเล็กทางด้านตะวันตกเฉียงใต้อีก ๑ ช่อง ประตูบางแห่งมีขนาดใหญ่แข็งแรงมีซุ้มหลังคาและยามเฝ้าดูแลความสงบเรียบร้อย บางแห่งมีขนาดเล็กพอคนเดินสวนทางกันได้ ไม่มีซุ้มหลังคา และคนคอยเฝ้าดูแลประจำ ประตูสำคัญ ๆ มีชื่อเฉพาะเรียกเช่น ประตูรามณรงค์ ประตูสะพานจันทร์ ฯลฯ แต่ขนาดเล็กไม่มีชื่อสิ่งที่สำคัญอีกอย่างของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย คือมีแหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผา ประเภทเครื่องชามสังคโลกที่งดงาม และมีเตาเผาสังคโลกที่เลื่องชื่อในอาณาเขตศรีสัชนาลัยชื่อว่า “เตาทุเรียง”
เตาเผาสังคโลก เครื่องสังคโลก เป็นประดิษฐกรรมที่นักโบราณคดี หรือนักสะสมของโบราณชื่นชอบและสนใจเป็นที่สุด แหล่งประดิษเครื่องสังคโลกมีอยู่หลายแห่งในดินแดนนี้อุตสาหกรรมการผลิตเครื่อง
ปั้นดินเผาบริเวณเกาะน้อย บ้านป่ายางเมืองศรีสัชนาลัย เป็นแหล่งผลิตสำคัญในเอเชีย
อาคเนย์ และเพียง ๒–๓แห่งในโลกในช่วงพุทธศตวรรษที่๒๐–๒๒กลุ่มเตาทุเรียงบ้านป่ายางอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม ห่างจากตัวเมืองโบราณคดีศรีสัชนาลัยประมาณ ๕๐๐ เมตร เป็นกลุ่มเตาเผาสังคโลกประมาณ ๒๑ เตา อยู่บนเนินดินทับถมสูง ๒เมตรเตาเผาที่พบเป็น เตาประทุน มีรูปร่างรีก่อหลังคาโค้งคล้ายประทุนเรือ เตาชนิด
นี้ให้ความร้อนสูงและสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ใช้สำหรับเผาเครื่องเคลือบ

อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร


เมืองกำแพงเพชรในอดีตเป็นเมืองที่มีปราการมั่นคงแข็งแรง เดิมชื่อว่าชากังราว เป็นเมือง
สำคัญคู่กับเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย พิษณุโลก (สองแคว) พิจิตร(สระหลวง) มีโบราณสถาน โบราณวัตถุมากมายในบริเวณพื้นที่สองฟากฝั่งแม่น้ำปิง
ในเนื้อที่ประมาณ๒,๔๐๗ ไร่ ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิงคือกำแพงเพชร ฝั่งตะวันตกเป็นเมือง
นครชุม ปัจจุบันเมืองกำแพงเพชรจัดเป็นมรดกโลก เพราะมีอุทยานประวัติศาสตร์ ซึ่งองค์ศึกษา
วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ได้ขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลก
เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
ความเป็นมาของอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
การปรับปรุงโบราณสถานเมืองกำแพงเพชร เริ่มครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๗โดยคณะกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชร และสุโขทัย โดยมีจอมพลถนอม กิติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นเป็นประธาน ปรับปรุงพื้นที่โบราณสถานไว้ ๑๘ แห่ง ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๕จึงได้ดำเนินการพัฒนาโบราณสถานให้เป็นอุทยานประศาสตร์ โดยกำหนดกลุ่มโบราณสถานออกเป็น ๔กลุ่มดังนี้
กลุ่มที่ ๑ บริเวณภายในกำแพงเมืองมีเนื้อที่ประมาณ ๓๐๔ ไร่ มีโบราณสถาน ๑๔ แห่ง เช่น วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๒ บริเวณอรัญญิกทางด้านทิศเหนือของกำแพงเพชร เนื้อที่ ๑, ๖๑๑ ไร่ มีโบราณสถาน ๔๐ แห่ง เช่น วัดพระนอน วัดช้างรอบ วัดพระสี่อริยาบถ ฯลฯ
กลุ่มที่ ๓ บริเวณนอกเมืองทางด้านตะวันออก เนื้อที่ ๑๖ ไร่ ๓ งาน มีโบราณสถาน ๑๕ แห่ง เช่น วัดกะโลทัย ฯลฯ
กลุ่มที่ ๔ บริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง (เมืองนครชุม) เนื้อที่ ๓๐ ไร่ มีโบราณสถาน เช่น วัดพระบรมธาตุ วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา อดีตราชธานีของไทยที่มีอายุยาวนานถึง ๔๑๗ ปี แสดงถึงความเป็นศูนย์กลางอารยธรรมของเอเชียอาคเนย์ให้เป็นที่ประจักษ์แก่นานาอารยประเทศอีกด้วย แม้ว่าจะถูกทำลายเสียหายจากสงครามแต่ร่องรอยซึ่งปรากฏอยู่ในปัจจุบันนั้นแสดงให้เห็นถึง
อัจฉริยภาพ และความสามารถอันยิ่งใหญ่ของบรรพบุรุษไทยที่ได้รังสรรค์บ้านเมืองให้มีความ
เจริญรุ่งเรืองทางศิลปวิทยาการทัดเทียมกับมหานครอื่นๆของโลกในยุคเดียวกัน ความสำคัญของพระนครศรีอยุธยาได้ปรากฎเด่นชัดขึ้น เมื่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔
เส้นทางการเดินทางท่องเที่ยว เมื่อทราบถึงภูมิหลังของพระนครศรีอยุธยาหรือประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้วนั้น การเข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์โบราณ
สถานที่สำคัญอันเป็นมรดกของโลกแห่งนี้ จึงมีการจัดวิธีการต่างๆ ของการเดินทางท่องเที่ยวด้วยวิธีง่ายๆ ประหยัด และมีผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวน้อยที่สุด ทั้งยังได้สัมผัสกับกลิ่นอายของความเจริญรุ่งเรืองอารยธรรมวัฒนธรรมในสมัยนั้นได้เป็น

แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
ในดินแดนอารยธรรมที่ยาวนานหลายพันป เห็นจะไม่มีที่ใดเกินหน้าชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นพันๆปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยนั้นแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถ ภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถปรับตัวให้เข้ากับ
สภาวะแวดล้อมของตนได้สืบต่อเนื่องกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน
สืบเนื่องจากการที่ แหล่งอารยธรรมบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ได้รับการยกย่องและขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ลำดับที่ ๓๕๙ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ซึ่งนับเป็นเกียรติยศและเป็นที่ภาคภูมิใจแก่ชาวจังหวัดอุดรธานีสืบมา
บ้านเชียง คือแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาของสังคม และวัฒนธรรมวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเผ่าพันธุ์สมัยโบราณเมื่อหลายพันปีในไทย
ปัจจุบันบ้านเชียงเป็นหมู่บ้านเขตการปกครองของตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ห่างจากตัวเมืองไปทิศตะวันออกตามทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี- สกลนคร รวมระยะทาง ๕๖ กิโลเมตร
จุดเด่นของบ้านเชียง คือเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตของพื้นที่หมู่บ้านนี้ โดยเฉพาะเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งมีการจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์ ๒ แห่ง ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้คือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเชียง และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่วัดโพธิ์ศรีใน
ประวัติของชุมชนบ้านเชียง
เมื่อราว พ.ศ. ๒๓๖๐ ซึ่งในราวรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เกิดสถานการณ์ทางการเมืองใน
ราชอาณาจักรลาวชาวพวนกลุ่มหนึ่งจากแขวงเชียงขวางจึงได้อพยพจากหมู่บ้านเดิน
ข้ามแม่น้ำโขงมายังฝั่งไทยจากนั้นผู้อพยพหนีภัยกลุ่มนี้ได้เดินทางเคลื่อนย้ายต่อลึกจาก
ฝั่งแม่น้ำโขงเข่ามาเรื่อยๆ จนกระทั่งถึงบริเวณพื้นที่ป่าเรียกว่า ดงแพง ชาวพวนกลุ่มนี้พบว่าที่นี่บางส่วนเป็นเนินสูงน้ำท่วมไม่ถึงในฤดูฝน บริเวณรอบๆ ยังเป็นที่ลุ่มเหมาะแก่การทำนา และมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์
ชาวพวนกลุ่มนี้จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านเชียง มาตลอดแต่หลักฐานที่ขุดพบโบราณวัตถุจากพื้นที่เนินแห่ง
นี้ไม่ได้บอกว่า หมู่บ้านนี้มีอายุเพียงแค่ ๓๐ ปี หรือมากว่านั้น แต่มันบอกอายุมากกว่าพันปีทีเดียว


เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้ง

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร - ห้วยขาแข้ง จัดเป็นผืนป่าธรรมชาติทีมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์สัตว์ป่าที่ที่สุด ปรากฎความหลากหลายทางธรรมชาติ และสัตว์ป่ามากมาย กลายเป็นผืนป่าที่ต้องอนุรักษ์ไว้ รวมพื้นที่ได้ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๘๗๕ ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ๓ จังหวัด คือ อยู่ในอำเภอลานสัก จังหวัดอุทัยธานี อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี และ อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
ด้วยสภาพธรรมชาติที่หลากหลายของป่าไม้ทั้งชนิดพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ ปรากฎว่ามีสัตว์ป่าจากหลายถิ่นกำเนิดมารวมกันในผืนป่าแห่งนี้ ซึ่งมีสัตว์ป่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ จนก่อให้เกิดแหล่งพันธุ์ป่าที่สำคัญ เป็นผลให้องค์การยูเนสโกได้ขึ้นบัญชีทุ่งใหญ่นเรศวร – ห้วยขาแข้งเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกเพียงแห่งเดียวของประเทศไทย
สภาพอากาศอยู่ในระหว่างกึ่งโซนร้อนกับโซนร้อน และอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีผลที่ทำให้มีฝน
เกือบตลอดฤดูฝนรวมทั้งอิทธิพลของพายุโซนร้อนในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นที่มาของน้ำฝนส่วนใหญ่ในพื้นที่
ในราวเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม อุณหภูมิทั่วไปไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป จึงทำให้เกิดความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด โดยที่ป่าห้วยขาแข้งเป็นป่าผืนใหญ่ มีเนื้อที่กว้างขวาง มีอาณาบริเวณติดต่อกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ที่เชื่อมโยงไปถึงประเทศพม่า สัตว์ป่าสามารถหลบหลีกไปถึงกันได้ จึงมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมรวมทั้งบางชนิดที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ ควายป่า ช้างป่า วัวแดง กระทิง กวาง เก้ง หมูป่า ลิง ชะนี ค่าง หมี สมเสร็จ เสือชนิดต่างๆ นกยูง ไก่ฟ้า นกหัวขวาน และนกชนิดอื่น ๆ อยู่กระจายทั่วไป
ชนิดป่าและพันธุ์ไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
ป่าดงดิบ ( Tropical Evergreen Forest ) เป็นป่ารกทึบ เขียวชอุ่มตลอดปี ผืนป่าแห่งนี้มีลักษณะป่าดงดิบมากที่สุด พันธุ์ที่สำคัญ คือ ยาง ตะเคียน กระบาก ยมหิน มะค่าโมง กระท้อน สมพง สะเดา ปัก ปออี เป้ง ตาเสือ และพะวา ฯลฯ
ป่าดิบแล้ง ( Dry Evergreen Forest ) ลักษณะดินและพันธุ์ไม้คล้ายป่าดิบชื้น แต่มีความชุ่มชื้นน้อยกว่า มีฤดูแล้งประมาณ ๔ เดือน จะอยู่ตามสันปันน้ำ พันธุ์ไม้ที่สำคัญ คือ มะค่าโมง พะวา สะเดา ปออกแตก และปอแดง ฯลฯ นอกนั้นเป็นไม้ทนร่มขนาดเล็ก เช่น ข่อย หนาม เข็มหนาม
ป่าเบญจพรรณ ( Mixed Deciduos Forest ) เป็นป่าโปร่งสลับอยู่ทั่วไปกับป่าดงดิบไปตลอดจนถึงลำห้วย พันธุ์ไม้ที่สำคัญคือ ประดู่แดง ตีนนก มะกอก เสลา สมพง และกว้าว ฯลฯ
ป่าเต็งรังหรือป่าแดง ( Deciduous Dipterocarps Forest ) เป็นป่าโปร่งมีสลับอยู่ทั่วไปตามเขาและเนินดินสูงๆ พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น เต็ง รัง เหียง พลวง รกฟ้า กระโดน ฯลฯ
ป่าไผ่ ( Bamboo Forest ) ขึ้นสลับอยู่ทั่วไป มีไผ่บง ไผ่รวก ไผ่สีสุก ไผ่นวล ไผ่หนาม และไผ่ป่า ฯลฯ

สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ๒ สมัย
โดย ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล
การที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ณ กรุงปารีส ได้ลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของประเทศสมาชิกหรือไม่เพียงไรนั้น ขึ้นอยู่กับข้อบทแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ ภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยสนธิสัญญา ซึ่งปัจจุบันได้มีการประมวลไว้ในอนุสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๖๙ มีผลบังคับกับรัฐที่ได้ให้สัตยาบันเป็นภาคีกว่าร้อยประเทศ และส่วนใหญ่ก็ล้วนเป็นข้อบทที่เป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศตามจารีตประเพณี และในทางปฏิบัติของอารยะรัฐแล้วเกือบทั้งหมด จึงมีผลบังคับในทางปฏิบัติกับรัฐสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเป็นภาคีและไม่เป็นภาคีโดยสมบูรณ์แบบตามอนุสัญญากรุงเวียนนา
ในสาระสำคัญนั้น อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ ค.ศ. ๑๙๗๒ มีข้อบทที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิกถอน หรือถอนตัวจากการเป็นภาคีอนุสัญญา ตามข้อ ๓๕ วรรค ๑ ฉะนั้น จึงไม่มีปัญหาว่าผู้แทนไทยหรือหัวหน้าคณะผู้แทนไทยมีสิทธิอำนาจในการถอนตัวตามอนุสัญญาหรือไม่เพียงใด
ปัญหาซึ่งอาจตามมาคือ การถอนตัวหรือเพิกถอนการเป็นภาคี หรือสมาชิกสภาพของรัฐภาคีของคณะกรรมการมรดกโลก และอนุสัญญามรดกโลก จะมีผลทางกฏหมายเมื่อใดหรือภายใต้เงื่อนไขประการใด การแสดงเจตนาย่อมมีผลทันทีที่ได้แสดงออก แต่ผลทางกฎหมายนั้น สมาชิกภาพของไทยในคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเป็นเช่นเดิมต่อไปอีก ๑๒ เดือน หากจะพิจารณาในแง่อนุสัญญาพหุภาคีแล้ว จะเห็นได้ว่าเป็นการประกาศให้ภาคีอนุสัญญาอื่น ๆ ได้รับทราบ และคณะกรรมการมรดกโลกเองจะได้ปรับสถานภาพเกี่ยวกับสิทธิ และภาระหน้าที่ที่เกี่ยวกับประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเป็นธรรมสำหรับคณะกรรมการและภาคีสมาชิกอื่น ๆ เพราะการถอนตัวย่อมกระทบกระเทือนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกอื่นด้วย ฉะนั้น การให้โอกาสสมาชิกอื่นทราบเพื่อปรับตัวหรือตั้งข้อสังเกต ทัดทาน เห็นชอบ โต้แย้ง หรือตั้งเงื่อนไขเกี่ยวกับผลกระทบ เป็นสิ่งที่สังคมประชาคมและประชาชาติยอมรับเป็นทางปฏิบัติระหว่างอารยะประเทศ
เหตุผลที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้อรรถาธิบายไว้นั้น ยังไม่เป็นที่ทราบแพร่หลายทั่วไปในด้านความชัดเจน แต่ในแง่ของการเมืองภายในประเทศ การลาออกเป็นสิ่งที่ไทยพึงกระทำมานานแล้ว ทั้งนี้ เนื่องจากการเป็นสมาชิกหรือเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก ประเทศสมาชิกต้องรับภาระชำระค่าบำรุงและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งไทยได้ประโยชน์เป็นนามธรรมเท่านั้น โดยได้ชื่อว่ามีสถานที่หลายแห่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อาทิ อุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา สุโขทัย บ้านเชียง ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง และผืนป่าเขาดงพญาเย็น ฯลฯ โดยไทยได้ประโยชน์ในการเผยแพร่วัฒนธรรมซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของยูเนสโก
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นการขัดต่อวัตถุประสงค์หลักของยูเนสโกอย่างชัดเจน เนื่องจากยังมีปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นฝ่ายเสนอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตีความเพื่อขยายผลคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งไทยไม่เห็นด้วยและคัดค้านมาโดยตลอด คำพิพากษาดังกล่าวประกอบด้วยคำพิพากษาหลัก และคำพิพากษาแย้งในสาระสำคัญของผู้พิพากษาถึงสามท่าน รวมทั้งคำพิพากษาเอกเทศของผู้พิพากษาอีก ๑ ท่าน ที่ไม่ควรถูกละเลยหรือมองข้าม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ ถึงนายอูถั่น ผู้รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ที่ส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบโดยทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลโลก เพราะขัดต่อสนธิสัญญา ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และขัดต่อหลักความยุติธรรม พร้อมกับมอบหมายให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่หก (กฎหมาย) แถลงเพิ่มเติม ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญที่ ๑๗ ค.ศ. ๑๙๖๒ คำแถลงดังกล่าวมีความยาวประมาณ ๔๐ หน้ากระดาษ เป็นภาษาอังกฤษโดยมีล่ามทำหน้าที่แปลเป็นภาษาทำงานทางการของสหประชาชาติทุกภาษา ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่ามีผู้แทนประเทศอื่นใดรวมทั้ง ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา และกัมพูชา ตั้งข้อสังเกตหรือโต้แย้งแต่ประการใด
แม้จะไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาที่ไร้ความยุติธรรม ไทยก็ได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติอย่างครบถ้วน แต่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศนั้น ธรรมนูญข้อ ๕๙ ของศาลฯ ได้ระบุไว้ชัดเจนว่าไม่มีผลบังคับนอกจากประเทศคู่กรณี และจำกัดเฉพาะในกรณีพิพาทนั้นเท่านั้น ไม่ผูกพันประเทศอื่นหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ หรือในข้อพิพาทอื่นใด จึงไม่ครอบคลุมไปถึงการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่ประการใด ฉะนั้น การขยายความเกินเลยขอบเขตคำพิพากษาเดิม เพื่อนำมาใช้อ้างอิงประกอบการพิจารณาการขึ้นทะเบียนย่อมไม่สามารถทำได้ ไทยจึงสมควรลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกโดยด่วน มิฉะนั้น จะเป็นการยอมรับพันธะกรณีที่เกิดจากความผิดพลาดของยูเนสโก อันจะนำมาซึ่งความสูญเสียของประเทศชาติ
การถอนตัวจากอนุสัญญาสากลนั้น ความจริงเป็นอำนาจสิทธิขาดของรัฐภาคี โดยผ่านตัวแทนหรือคณะผู้แทนของรัฐภาคี โดยแถลงในที่ประชุมหรือยื่นหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ส่วนเหตุผลที่รัฐบาลไทยใช้ประกอบการถอนตัวหรือความตื้นลึกหนาบางที่จะแถลงให้ประชาชนทราบเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐบาลไทย
โดยที่ขณะนี้เป็นช่วงเวลาที่คดีประสาทพระวิหารกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาการตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อ ค.ศ. ๑๙๖๒ จึงยังเป็นสาระที่มีสถานะเป็นปัญหา “sub judice” ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงมิบังควรที่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือแม้แต่ผู้พิพากษาในคดีดังกล่าว ทนายความ ที่ปรึกษากฎหมาย หรือนักนิติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ จะลงความเห็นหรือวิพากวิจารณ์ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาสิ้นเสร็จเด็ดขาด ทั้งนี้ เพราะการลงความเห็นก่อนกาลเป็นการสุ่มเสี่ยงในการหมิ่นอำนาจศาล หรือละเมิดจริยธรรมของนักกฎหมายระหว่างประเทศ นักนิติศาสตร์ผู้คุ้นเคยกับจริยธรรมในการประพฤติปฏิบัติ ย่อมต้องเคารพและปฏิบัติตามระเบียบวินัยของวงการอย่างเคร่งครัด
ข้าพเจ้าจึงขอเรียนชี้แจงในฐานะอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญขององค์การยูเนสโกในเรื่องมรดกโลก กรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศของสหประชาชาติถึงสองสมัยเป็นเวลา ๑๐ ปี เป็นผู้เสนอรายงานพิเศษ และประธานคณะกรรมการร่างกฎหมายที่ได้พิจารณาร่างอนุสัญญาต่าง ๆ รวมทั้งข้อบทอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความรับผิดชอบของรัฐ

วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

พรรคการเมืองไทย 2554

พรรคการเมืองที่ลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งนี้ปี2554

พรรคการเมืองที่ลงสมัครเลือกตั้ง

1ตราสัญลักษณ์พรรคเพื่อไทย    พรรคเพื่อไทย (ย่อว่า: พท.) จดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 โดยมี นายบัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และ นายโอฬาร กิจเลิศไพโรจน์ เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก
สำนักงานใหญ่ของพรรค ตั้งอยู่ที่ 1770 อาคารไอเอฟซีที ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10310 ซึ่งเป็นที่ทำการเดิมของพรรคไทยรักไทย และพรรคพลังประชาชน (ย้ายมาจากอาคารนวสร ถนนพระรามที่ 3 แขวงบางคอแหลม เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร และ 626 อาคาร บีบีดี บิลดิง ซอยจินดาถวิล ถนนพระรามที่ 4 แขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500) และสำนักงานสาขาพรรคแห่งแรก ตั้งอยู่ที่จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นสาขาพรรคพลังประชาชนเดิม[2]

หัวหน้าพรรค

ลำดับรูปรายนามเริ่มวาระสิ้นสุดวาระตำแหน่งสำคัญ
1บัณจงศักดิ์ วงศ์รัตนวรรณ20 กันยายน พ.ศ. 255020 กันยายน พ.ศ. 2551
2Suchart.jpgดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช
(8 สิงหาคม พ.ศ. 2495 — )
21 กันยายน พ.ศ. 255119 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551• อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
• อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
3Yongyuth Wichaidit.jpgยงยุทธ วิชัยดิษฐ
(15 กรกฎาคม พ.ศ. 2485 — )
7 ธันวาคม พ.ศ. 2551ปัจจุบัน• อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย
• อดีตอธิบดีกรมที่ดิน
• อดีตประธานกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
• อดีตประธานกรรมการการประปานครหลวง
• อดีตประธานกรรมการตรวจสอบของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล

2.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน
ผู้นำวรรณรัตน์ ชาญนุกูล
ประธานที่ปรึกษาสุวัจน์ ลิปตพัลลภ
เลขาธิการประเชิญ ติยะปัญจนิตย์ (รักษาการ)
โฆษกเทพสิทธิ์ ประวาหะนาวิน
นโยบายหันหน้าเข้าหากัน สร้างประเทศไทย รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย พลังไทยสร้างชาติ
1. สังคมมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง เศรษฐกิจยั่งยืน
2. สุขภาพดีทั่วไทย กีฬาสร้างชาติ ประชาชนมีคุณภาพ ขยายระบบสวัสดิการสังคม
3. เกษตรกรไยต้องรวย ค่าแรงดีมีงานทำ สร้างเถ่าแก่เงินล้าน เชื่อมสัมพันธ์การค้าไทยสู่ตลาดโลก
4. ทุกทิศทุกทางเดินทางทั่วถึง ตรึงราคาแก๊ส-น้ำมัน เพิ่มรายได้การท่องเที่ยว เพิ่มเงินอุดหนุนท้องถิ่น[1]
คำขวัญประชาสมคิด เพื่อชีวิตสมหวัง
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2550
514/1 ถ.หลานหลวงี่แยกมหานาค ดุสิต กทม 
3.พรรคประชากรไทย
พรรคประชากรไทย
ผู้นำสุมิตร สุนทรเวช
เลขาธิการสมบูรณ์ เวสสุนทรเทพ
โฆษกเฉลิม เจ๊กแสง
ก่อตั้ง26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525
สำนักงานใหญ่1213/323 ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310

 พรรคประชากรไทย (อังกฤษ: Thai Citizen Party - TCP, ย่อว่า: ปชท.) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2525[1] ณ บริเวณสนามชัยข้างพระบรมมหาราชวัง โดยมีนายสมัคร สุนทรเวชเป็นหัวหน้าพรรค เพื่อการเลือกตั้งในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2522
โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนั้นพรรคประชากรไทยได้รับเลือกตั้ง 29 ที่นั่ง จากจำนวน 32 ที่นั่งในกรุงเทพมหานคร และอีก 3 ที่นั่งในต่างจังหวัด
ต่อมาเมื่อพรรคประชากรไทยได้จดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมายแล้ว เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2525 จึงได้ส่งข้อมูลสมาชิกและการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกระทรวงมหาดไทย ในฐานะที่เป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง จนกระทั่งเมื่อเกิดมีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 พรรคจึงได้จัดส่งข้อมูลการดำเนินกิจการของพรรคให้กับกกต.โดยตรงในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมืองตามกฎหมาย และกระทรวงมหาดไทยจะได้จัดส่งข้อมูลเดิมที่มีอยู่ให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งต่อไป
พรรคประชากรไทย จัดเป็นพรรคการเมืองขนาดเล็ก มีฐานเสียงที่สำคัญอยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีบุคคลสำคัญอันเป็นเสมือนเอกลักษณ์ของพรรค คือ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรค แต่หลังจากปี พ.ศ. 2540 แล้ว พรรคประชากรไทยมีบทบาทการเมืองในระดับประเทศลดลง อีกทั้งมีสมาชิกพรรคจำนวน 12 คน หันไปให้การสนับสนุนนายชวน หลีกภัย ให้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยที่ 2 ด้วย ซึ่งขัดต่อความเห็นของนายสมัคร หัวหน้าพรรค ซึ่งเรียกกันว่า "กลุ่มงูเห่า" ในปี พ.ศ. 2543 นายสมัคร ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ได้ลงสมัครในนามของพรรค
พรรคประชากรไทย ได้ส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2548 และปี พ.ศ. 2549 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเลยแม้สักที่นั่งเดียว
ปัจจุบัน มีหัวหน้าพรรค คือ นายสุมิตร สุนทรเวช น้องชายของนายสมัคร ที่ทำการพรรคตั้งอยู่ที่ ถนนศรีวรา แขวงวังทองหลาง เขตบางกะปิ กทม.
4.พรรครักประเทศไทย 

   พรรครักประเทศไทย (อังกฤษ: Rak Thailand Party) เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[2] โดยมีนายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ เป็นเลขาธิการพรรค

พรรครักประเทศไทย
ผู้นำชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
เลขาธิการชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
โฆษกวินัย ตั้งใจ
นโยบายเมื่อทุกพรรคต้องการเป็นรัฐบาลเพื่อให้ได้เข้าไปบริหารประเทศ ได้สัมปทานประเทศไทย ผลประโยชน์มหาศาลนี้ ต้องมีคนตรวจสอบ ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่น เกิดมาทุกยุค ทุกสมัย ทุกรัฐบาล พรรครักประเทศไทยขอเสนอตัวเป็นฝ่ายค้านเพื่อตรวจสอบการทำงาน ติดตามนโยบายต่างๆ ที่บรรดานักการเมืองให้คำมั่นสัญญาเมื่อได้เข้าไปบริหารประเทศ ประชาชนและประเทศชาติจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง[1]
ก่อตั้ง18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
สำนักงานใหญ่188 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพ
5.พรรคพลังชค

พรรคพลังชล
ผู้นำรศ.เชาวน์ มณีวงษ์
ประธานที่ปรึกษาสนธยา คุณปลื้ม
เลขาธิการปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม
นโยบายมีส่วนร่วมด้านการเมือง กระจายอำนาจ พัฒนาการเกษตร อุตสาหกรรม-ส่งออก การท่องเที่ยว เศรษฐกิจพอเพียง สถาบันครอบครัว พัฒนาคุรภาพชีวิต บริการสาธารณสุข การอาชีพ ลดความเหลื่อมล้ำของสังคม ปราบปรามยาเสพติด ส่งเสริมคุณภาพครู พัฒนาหลักสูตร พัฒนาระบบโลจิสติกส์ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน สิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ ความร่วมมือระหว่างประเทศ[1]
คำขวัญเทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน
ก่อตั้ง4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่36/2 ถนนบางแสนล่าง ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
พรรคพลังชล เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 นำโดยสนธยา คุณปลื้ม อดีตรัฐมนตรี และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดชลบุรีหลายสมัย[2] พร้อมด้วยอดีต ส.ส.กลุ่มชลบุรี ซึ่งแต่เดิมสมาชิกในกลุ่มชลบุรี สังกัดพรรคภูมิใจไทย
พรรคพลังชล มีรองศาสตราจารย์ เชาว์ มณีวงษ์ เป็นหัวหน้าพรรค และนายปิลันธน์ดิลก จิตรธรรม เป็นเลขาธิการพรรค[3] ซึ่งพรรคพลังชลมีคำขวัญว่า "เทิดทูนสถาบัน ยึดมั่นประชาชน"[4] โดยมีฐานเสียงสำคัญในเขตเลือกตั้งจังหวัดชลบุรี และพื้นที่ภาคตะวันออก
6.พรรคประชาธิปัตย์
พรรคประชาธิปัตย์
ผู้นำอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ประธานที่ปรึกษาชวน หลีกภัย
เลขาธิการสุเทพ เทือกสุบรรณ
โฆษกบุรณัชย์ สมุทรักษ์
นโยบายครอบครัวต้องเดินหน้า เพิ่มรายได้และลดรายจ่ายด้วยการมอบเบี้ยยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุทุกคน มีไฟฟ้าฟรีให้ผู้ที่ใช้น้อย ตรึงราคาน้ำมันดีเซลและก๊าซหุงต้ม เพิ่มเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา และจัดการปัญหายาเสพติดอย่างเด็ดขาด เศรษฐกิจต้องเดินหน้า ยกระดับความเป็นอยู่ด้วยการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เพิ่มเงินกำไรในการประกันรายได้เกษตรกร ปรับโครงสร้างหนี้นอกระบบ ให้เกษตรกรมีที่ทำกิน และมีบำเหน็จบำนาญให้ประชาชนทุกคน ประเทศต้องเดินหน้า พัฒนาศักยภาพของประเทศด้วยการเร่งจัดกาพลังงานทดแทน สร้าบงเขตเศรษญกิจเพื่อยกระดับสินค้า มีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมกรุงเทพฯ และภูมิภาค และจัดหาแหล่งน้ำ[1]
คำขวัญสจฺจํเว อมตา วาจา
(คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย)
ก่อตั้ง6 เมษายน พ.ศ. 2489 (65 ปี)
สำนักงานใหญ่67 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร
พรรคประชาธิปัตย์ (อังกฤษ: Democrat Party - DP, ย่อว่า: ปชป.) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2489 เป็นพรรคการเมืองจดทะเบียนที่เก่าแก่ที่สุดของไทยที่ยังดำเนินการอยู่[2] พรรคมีสมาชิกที่ได้แจ้งต่อนายทะเบียนพรรคการเมืองไว้ จำนวนประมาณ 2,869,363 คน มีสาขาพรรคจำนวน 190 สาขา[3]
ปัจจุบัน พรรคประชาปัตย์เป็นพรรคแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 โดยมีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน

7.พรรครักษ์สันติ
พรรครักษ์สันติ
ผู้นำพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์
ประธานที่ปรึกษาศ.ร.ต.อ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
เลขาธิการรศ.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ
โฆษกวิริยะ เตชะรุ่งโรจน์
นโยบายเป็นธรรมทั่วไทย ต้านภัยธรรมชาติ วางมาตรการภาษีที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ เพิ่มผลผลิตเกษตรกร เพิ่มความแน่นอนในธุรกิจ ผลผลิตเพียงพอบริโภค ปราศจากโรคภัย ใช้ปัญญาทำการพัฒนา คนชราได้รับการดูแล เป็นสุขแท้สังคมไทยไร้ยาเสพติด สร้างจิตสาธารณะ ลดละการทุจริต ร่วมใจร่วมสปิริตสู่อาเซียน มุ่งพากเพียรอนุรักษ์ความเป็นไทย เชิดชูยกย่องในบรรพชน[1]
คำขวัญสามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง
ก่อตั้ง21 เมษายน พ.ศ. 2554
สำนักงานใหญ่14/23 หมู่ที่ 8 ถนนประดิษฐ์มนูธรรม เขตลาดพร้าว กทม 10230

      พรรครักษ์สันติ (อังกฤษ: RAK SANTI PARTY) เป็นพรรคการเมืองไทยที่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2554 โดยมีศาสตราจารย์ ร้อยตำรวจเอก ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นประธานที่ปรึกษาพรรค มีพลตำรวจโทถวิล สุรเชษฐพงษ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีรองศาสตราจารย์ ดร.พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ เป็นเลขาธิการพรรค[2] ซึ่งพรรครักษ์สันติมีแนวความคิดที่จะแยกกรรมการบริหารพรรค ออกจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรค เพื่อแยกงานอำนวยการกับงานการเมืองออกจากกัน[3]
พรรครักษ์สันติ มีคำขวัญว่า "สามัคคี กินดีมีสุข ทุกที่เป็นธรรม นำชาติรุ่งเรือง" มุ่งดำเนินแนวนโยบายในการเป็นพรรคทางเลือก และเป็นกลางทางการเมือง โดยมีนักการเมือง นักวิชาการ และผู้มีชื่อเสียงเข้าร่วมงานกับพรรค อาทิ ผศ.ดร.นพดล อินนา รศ.ดร.ชรินรัตน์ พุทธปวน วีระชัย ไชยวรรธนะ พันธ์เลิศ ใบหยก พญ.วิวรรณ นิติวรางกูร นพ.ประจวบ อึ๊งภากร พีระพงศ์ สาคริก และ รศ.นงลักษณ์ วัฒนสิงหะ

8.พรรคกิจสังคม
พรรคกิจสังคม
ผู้นำทองพูล ดีไพร
ประธานที่ปรึกษาสุวิทย์ คุณกิตติ
เลขาธิการสยมภู เกียรติสยมภู
โฆษกเทวฤทธิ์ นิกรเทศ
นโยบายพรรคกิจสังคมมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประชาชนชาวไทยทุกกลุ่ม พรรคจะดำเนินนโยบายกองทุนหมู่บ้าน ส่งเสริมด้านเกษตรกรรมโดยใช้ชลประทานระบบท่อ ด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้นำ และพรรคจะพัฒนาเมืองหลวงโดยการกระจายความเจริญออกสู่เมืองบริวาร[1]
ก่อตั้ง4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517
สำนักงานใหญ่ซอยหมู่บ้าน 99 ตรงข้ามมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร

พรรคกิจสังคม (อังกฤษ: Social Action Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517[2] โดย หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดยให้ชื่อว่า "กิจสังคม" โดยแปลตรงตัวจากภาษาอังกฤษ โดยนำชื่อพรรคมาจากพรรคการเมืองนี้ในประเทศอังกฤษ
หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผู้ก่อตั้งพรรค และหัวหน้าพรรคคนแรกให้เหตุผลว่า
Cquote1.svg
อยู่ที่ความรู้สึก ว่าบ้านเมืองของเราเริ่มจะเป็นประชาธิปไตย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกๆ คนปรารถนา ที่นี้ผมเองและพวกพ้อง ลูกศิษย์ ลูกหาที่เขาทำการงานไปแล้วหลายคน มาคิดกันว่า ประชาธิปไตย นี่ความจริงก็เป็นสิ่งที่ เราต้องการกันทุกคนในเมืองไทย
แต่เมื่อมีประชาธิปไตยแล้ว มันก็ไม่ควรจะคิดว่า เราจะได้อะไรจากประชาธิปไตย เราควรจะคิดว่าเราจะให้อะไรแก่ ประชาธิปไตย ซึ่งเราทุกคนปรารถนานั้นได้ เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เราก็อยากให้เท่าที่เรามีจะให้ได้คือ ก็เรียกว่าประสบการณ์ของเรา ความสามารถของเรา ความเสียสละ และความจริงใจของเราที่จะ ทำประโยชน์ต่อบ้านเมือง
เมื่อคิดเช่นนั้นแล้ว เรายังเห็นว่า บ้านเมืองนี้ ยังต้องการคนที่พร้อมจะเสียสละ ทำการงานอีกมาก โดยที่ไม่หวังอะไรตอบแทน ก็เลยตั้งพรรค (กิจสังคม) นี้ขึ้น เพื่อที่จะมีส่วนเข้าส่งเสริม แล้วก็รักษาระบอบประชาธิปไตย แล้วก็ทำการงานให้บ้านเมืองตามระบอบประชาธิปไตยจะอำนวยให้
Cquote2.svg

9.พรรคไทยเป็นไท
พรรคไทยเป็นไท
ผู้นำนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช (รักษาการ)
ประธานที่ปรึกษานายกุศลหมีเทศริ์ ศรีอารวงศา
นโยบายเชิดชูสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ให้ดำรงอยู่คู่ชาติไทย ขันอาสาปลดหนี้ให้คนไทยทุกคน ๆละไม่เกิน 5 แสนบาท
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2541
สำนักงานใหญ่81/9-10 ม.2 ต.บ้านกร่าง อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย 64170
พรรคไทยเป็นไท (Thais is Thai Party - TIP.) เป็นพรรคการเมือง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2541 ในชื่อ พรรคเกษตรมหาชน[1] โดย นายชูชาติ ประธานธรรม (ชื่อเดิม "ปราบสะดา หมีเทศ" หรือ กุศล หมีเทศ หรือ "กุศล หมีเทศทอง" หรือ "ดารัณ หมีเทศ" ) เป็นหัวหน้าพรรค และต่อมาเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคคนขอปลดหนี้ โดยมติที่ประชุมใหญ่ เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2546[2]
เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2549 พรรคคนขอปลดหนี้ได้จัดประชุมใหญ่สามัญครั้งที่ 1/2549 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเปลี่ยนแปลงข้อบังคับพรรคโดยเปลี่ยนชื่อพรรคเป็น พรรคไทยเป็นไท
ปัจจุบันพรรคไทยเป็นไท มีจำนวนสมาชิกมากกว่า 326,000 คน[3] และมีนายพงศ์สุชิน วีระกิธพานิช รองหัวหน้าพรรคทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค

10.พรรคภมิใจไทย
พรรคภูมิใจไทย
ผู้นำนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
เลขาธิการนางพรทิวา นาคาศัย
โฆษกนายศุภชัย ใจสมุทร
นโยบายกองทุนประกันราคาสินค้าเกษตรข้าวเปลือกตันละ 20,000 บาท กองทุนสวัสดิการผู้บำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม กองทุนจ้างงานแห่งชาติ 1 ล้านตำแหน่ง กองทุนพันาแหล่งท่องเที่ยวผ่าน อปท. จังหวัดละ 100 ล้านบาทต่อปี ถนนปลอดฝุ่นทั้งประเทศ สร้างทางน้ำเข้าไร่นาเกษตรกร ศูนย์ฝึกนักกีฬาอาชีพ 4 ภาค และสร้างที่ทำกิน 1 ล้านคน[1]
คำขวัญประชานิยม สังคมเป็นสุข
ก่อตั้ง5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่2159/11 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

พรรคภูมิใจไทย (ย่อว่า: ภท.) ก่อตั้งเมื่อ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 มี นายพิพัฒน์ พรมวราภรณ์ เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก นายมงคล ศรีอ่อน เป็นเลขาธิการพรรคคนแรก และนางวันเพ็ญ ขวัญวงศ์ เป็นโฆษกพรรคคนแรก [2]
ในปัจจุบันมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล เป็นหัวหน้าพรรค นางพรทิวา นาคาศัย เป็นเลขาธิการพรรค และนายศุภชัย ใจสมุทร เป็นโฆษกพรรค

11.พรรคแทนคุณแผ่นดิน
พรรคแทนคุณแผ่นดิน
ผู้นำวิชัย ศิรินคร
เลขาธิการบุญธร อุปนันท์
โฆษกธนะเทพ สังเกิด
นโยบาย- สร้างรางรถไฟคู่ขนาน จำนวน 3 สาย ให้แล้วเสร็จภายใน 15 ปี (หนองคาย, อุบลราชธานี, เชียงใหม่)
- สนับสนุนกองทุนกู้ยืมกองทัพแรงงานไทยอีสาน ไปทำงานในต่างประเทศ กว่าห้าแสนคนไปทำงานก่อนแล้วผ่อนให้รัฐทีหลัง
คำขวัญประโยชน์สุขของประชาชน คือ นโยบายสูงสุด
ก่อตั้ง9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
สำนักงานใหญ่16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ 10260

พรรคแทนคุณแผ่นดิน (อังกฤษ: Thaen Khun Phaendin Party) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดย กลุ่มแทนคุณแผ่นดินอีสาน นำโดยวิวรรธนไชย ณ กาฬสินธุ์ อดีต ส.ส.กาฬสินธุ์ พรรคไทยรักไทย ที่แยกตัวออกมาพรรคพลังประชาชน เนื่องจากนายวิวรรธนไชยอ้างว่า นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน ได้เคยพูดจาดูถูกคนอีสานไว้ในอดีต จึงไม่อาจยอมรับได้[1]
เดิมจะใช้ชื่อว่า พรรคแทนคุณแผ่นดินอีสาน[2] เนื่องจากมีเป้าหมายจะเป็นพรรคที่มีบทบาทในพื้นที่ภาคอีสานโดยเฉพาะ แต่ต่อมาได้ยุบเลิกไป[3] และจัดตั้ง พรรคแทนคุณแผ่นดิน ขึ้นมาใหม่ โดยมี ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต ส.ส.ศรีสะเกษ พรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าพรรค
พรรคแทนคุณแผ่นดิน มีสมาชิกจำนวนกว่า 6,174 คน สาขาจำนวน 5 สาขา มีสำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 16 ซอยลาซาน 42 เขตบางนา กรุงเทพ โดยมีนายวิชัย ศิรินคร เป็นหัวหน้าพรรค

12.พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย
ผู้นำนายโชติ บุญจริง
เลขาธิการนายวิเชียร ควรเอี่ยม
โฆษกนางประภาพรรณ ทับทิมถาวร
ก่อตั้ง20 มิถุนายน พ.ศ. 2549
สำนักงานใหญ่104 ซอยรณชัย 2 ถนนเศรษฐศิริ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ 0-2617-1495
โทรสาร 0-2279-1329

พรรคเครือข่ายชาวนาแห่งประเทศไทย (The Farmer Network of Thailand Party) ตัวย่อ : พนท. เป็นพรรคการเมืองในประเทศไทย จดทะเบียนก่อตั้งพรรคเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2549[1]
เป็นพรรคที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ในช่วงที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยเปลี่ยนสถานะจากเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย ที่เข้าร่วมชุมนุมในครั้งนี้ด้วย โดยมีเจตนารมย์จะเป็นพรรคการเมืองภาคประชาชน มุ่งเน้นนโยบายไปที่เกษตรกรและชั้นชนใช้แรงงานในสังคม

13.พรรคการเมืองใหม่




พรรคการเมืองใหม่
ผู้นำนายสมศักดิ์ โกศัยสุข
เลขาธิการนายสุริยะใส กตะศิลา
โฆษกนายสำราญ รอดเพชร
คำขวัญซื่อสัตย์ เสียสละ กล้าหาญ ทำงานเป็น
ก่อตั้ง25 มิถุนายน พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่457 ถนนพระสุเมรุ แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
สีของพรรคสีเหลืองและสีเขียว

พรรคการเมืองใหม่ (อักษรย่อ: ก.ม.ม. อังกฤษ: New Politics Party - NPP) รหัสบริจาคภาษีให้พรรค 076 เป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยมีพื้นฐานมาจากกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552 และจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2552 โดยมี นายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค นายสุริยะใส กตะศิลา เป็นเลขาธิการพรรค และ พล.ร.ท. ประทีป ชื่นอารมณ์ เป็นโฆษกพรรค
ปัจจุบัน มีนายสมศักดิ์ โกศัยสุข เป็นหัวหน้าพรรค หลังจากการลาออกไปของนายสนธิ ลิ้มทองกุล[1]
สีประจำพรรค คือ สีเหลือง หมายถึงการเชิดชูประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข และสีเขียวหมายถึงการเมืองสะอาดปลอดมลพิษ

14.พรรคชาติไทยพัฒนา
พรรคชาติไทยพัฒนา
ผู้นำชุมพล ศิลปอาชา
ประธานที่ปรึกษาพล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
เลขาธิการพันธุ์เทพ สุลีสถิร
โฆษกวัชระ กรรณิการ์
คำขวัญพรรคชาติไทยพัฒนา เพื่อพัฒนาชาติไทย
ก่อตั้ง18 เมษายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่เลขที่ 33/157 หมู่ที่ 11 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
สภาผู้แทนราษฎร
25 / 475

พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นพรรคการเมืองที่รองรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคชาติไทย ซึ่งถูกตัดสินยุบพรรคเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่ง ณ เวลานั้น เหลือ ส.ส. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ 13 คน จึงย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนาทั้งหมด ต่อมาในการเลือกตั้งซ่อมเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552 พรรคชาติไทยพัฒนาได้รับเลือกตั้ง 10 คน และปลายเดือนมกราคม ปีเดียวกัน มีสมาชิกจากอดีตพรรคมัชฌิมาธิปไตย ย้ายเข้าพรรคชาติไทยพัฒนา 2 คน รวมทั้งหมด 25 คน[3]

15.พรรคมาตุภูมิ
พรรคมาตุภูมิ
ผู้นำพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน
เลขาธิการมั่น พัธโนทัย
โฆษกวิริยะ ลิขิตวงศ์
นโยบายสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ประเทศชาติ ธำรงไว้ซึ่งศาสนา พิทักษ์และเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมทั้งปกปักษ์และส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของชาติ ตลอดจนจะยึดมั่นในการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนคนไทย[1]
คำขวัญรักมาตุภูมิ เทิดทูนคุณธรรม
ก่อตั้ง3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
สำนักงานใหญ่555 อาคารเบญจมาศ ชั้น 5 ถนนร่วมจิตร์ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

พรรคมาตุภูมิ (อังกฤษ: Matubhum Party) ก่อตั้งขึ้นในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เดิมชื่อพรรคราษฎร และเปลี่ยนชื่อเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 [2] ในระยะแรกพรรคราษฎร ยังไม่มีบทบาททางการเมือง เนื่องจากไม่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในสังกัด
ต่อมากิจการของพรรคมาตุภูมิ ได้ถูกรื้อฟื้นอีกครั้ง ในปลายปี พ.ศ. 2551 ภายหลังคดียุบพรรคใหญ่หลายพรรค นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พร้อมด้วยสมาชิก ส.ส.กลุ่มวาดะห์ และกลุ่มปากน้ำของนายวัฒนา อัศวเหม ย้ายเข้ามาสังกัดพรรค[3]
นอกจากนี้แล้ว พรรคมาตุภูมิ ยังมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกครั้งเมื่อมีข่าวว่ามีการเชิญ พลเอกสนธิ บุญยรัตนกลิน เป็นประธานพรรค[4] และรับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในเวลาต่อมา[5]

16.พรรคมหาชน
พรรคมหาชน
ผู้นำอภิรัต ศิรินาวิน
เลขาธิการไพศาล เหมือนเงิน
โฆษกธีรพัฒน์ บุญภิรักษ์
ก่อตั้ง10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541
เปลื่ยนชื่อ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

การเริ่มต้นของพรรคมหาชน มีพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ เป็นแกนนำ โดยนโยบายพรรคมหาชนในระยะแรก ร่างโดย ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งลาออกจากพรรค มาพร้อมกับพลตรีสนั่น นำเสนอนโยบายว่าเป็นพรรคทางเลือกที่สาม นอกเหนือจาก พรรคไทยรักไทย และ พรรคประชาธิปัตย์ อย่างไรก็ตามมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์โจมตีว่า พรรคตั้งขึ้นมาเพื่อแย่งชิงฐานเสียงของ พรรคไทยรักไทย ในภาคเหนือ และจะร่วมมือจัดตั้งรัฐบาลกับ พรรคประชาธิปัตย์ ในภายหลัง [ต้องการอ้างอิง]
เมื่อแรกก่อตั้งพรรค พลตรีสนั่น ได้เชิญ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และกำลังจะหมดวาระ ให้มาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคมหาชน แต่นายศุภชัยปฏิเสธ และต่อมาพิจารณารับตำแหน่งอื่นในสหประชาชาติต่อ พลตรีสนั่นจึงยกให้ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นหัวหน้าพรรคแทน
วันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลตรีสนั่น พร้อมด้วยนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ บุตรชาย และสมาชิกพรรคมหาชน เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคชาติไทย โดยให้เหตุผลว่ากฎหมายพรรคการเมืองปัจจุบันไม่เอื้อต่อการดำเนินงานของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ถือเป็นการสิ้นสุดการดำเนินงานของพรรคมหาชนไปโดยบริยาย [4]

17.พรรคประชาสันติ
พรรคประชาสันติ
ผู้นำเสรี สุวรรณภานนท์
ก่อตั้งพ.ศ. 2552

     พรรคประชาสันติ เดิมก่อตั้งขึ้นโดยมีชื่อว่า "พรรคธรรมาธิปัตย์" โดยมี ธันวา ไกรฤกษ์ เป็นหัวหน้าพรรค[1] ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "ประชาสันติ"[2]
ต่อมาในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 พรรคประชาสันติ ได้ประกาศร่วมงานทางการเมืองกับ ศ.ดร.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ พันธุ์เลิศ ใบหยก พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผศ.ดร.นพดล อินนา และ พล.ต.อ.พิชิต ควรเดชะคุปต์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน โดยมีเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล[3] แต่ต่อมา ดร.ปุระชัย และสมาชิกอีกจำนวนหนึ่งได้ออกไปจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่[4] คือ พรรครักษ์สันติ

18.พรรคความหวังใหม่
พรรคความหวังใหม่
ผู้นำชิงชัย มงคลธรรม
ประธานที่ปรึกษาพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
เลขาธิการจารึก บุญไชย
โฆษกสราวุฑ ทองเพ็ญ
คำขวัญเลิกทาสทางความคิด ติดอาวุธทางปัญญา นำพาชาติพ้นภัย
ก่อตั้ง11 ตุลาคม พ.ศ. 2533
สำนักงานใหญ่486/3 ซอยทรัพย์ประชา ถนนประชาอุทิศ แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310
สีของพรรคสีเหลือง

พรรคความหวังใหม่ (อังกฤษ: New Aspiration Party, ย่อว่า ควม.) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2533 โดยมี พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นหัวหน้าพรรค และ น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ เป็นเลขาธิการพรรค ร่วมด้วยนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเช่น นายเสนาะ เทียนทอง นายจาตุรนต์ ฉายแสง และ นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา มีสัญลักษณ์พรรคคือ ดอกทานตะวัน และมีคำขวัญพรรคว่า ประเทศมั่นคง ประชาชนมั่งคั่ง
พรรคความหวังใหม่ ลงเลือกตั้งครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 ได้เป็นฝ่ายค้าน และหลังจากนั้นไม่นานก็เกิด เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และ พรรคความหวังใหม่ เป็นหนึ่งในบรรดา 4 พรรคการเมือง ที่เรียกกันในช่วงเวลานั้นว่า พรรคเทพ ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่ร่วมกันคัดค้าน การขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
พรรคความหวังใหม่ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี พ.ศ. 2539 ได้ที่นั่ง ส.ส. จำนวน 125 ที่นั่ง โดยเฉือนชนะ พรรคประชาธิปัตย์ พรรคคู่แข่งสำคัญไปเพียง 2 ที่นั่ง ส่งผลให้ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ หัวหน้าพรรคขึ้นดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี
พรรคความหวังใหม่ มีฐานเสียงส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอีสาน หลังจากพล.อ.ชวลิต ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2540 จากการประกาศลดค่าเงินบาท และทำให้ระหว่างปี พ.ศ. 2540-2544 พรรคความหวังใหม่ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็น พรรคฝ่ายค้าน

19.พรรคพลังคนกีฬา
พรรคพลังคนกีฬา
ผู้นำวนัสธนา สัจจกุล
เลขาธิการวิรุณ เกิดชูกุล
โฆษกกิตติพิชญ์ นองเนือง
นโยบายพัฒนาวงการกีฬาและสร้างความสามัคคีของคนในชาติ
คำขวัญรวมพลังคนกีฬา พัฒนาการเมืองไทย
ก่อตั้ง28 ตุลาคม พ.ศ. 2552
สำนักงานใหญ่134 ถนนรามคำแหง เขตสะพานสูง กรุงเทพ 10240

พรรคพลังคนกีฬา ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554เป็นครั้งแรก โดยมีหมายเลขประจำพรรค คือ หมายเลข 36 ประกอบด้วยผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 103 คน ซึ่งพรรคพลังคนกีฬา ได้นำเสนอนโยบายการให้คนนอกมาเป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อยุติปัญหาทางการเมือง โดยเสนอให้นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายวนัสธนา สัจจกุล หัวหน้าพรรคฯ จะขอเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะได้ใช้กีฬาสร้างความปรองดองในชาติ[4]

20.พรรคไทยสร้างสรรค์

ในช่วงแรกของการก่อตั้งนั้นเป็นการรวมตัวกันของผู้ความสนใจการเมือง จึงมีการก่อตั้งพรรคขึ้นในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553 โดยมี นายวิบูลย์ แสงกาญจนวนิช เป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และมีคณะกรรมการบริหารพรรครวม 11 คน จำนวนสมาชิก 18 คน หลังจากนั้นในวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2553 หัวหน้าพรรค พร้อมด้วยคณะกรรมการบริหารพรรค จำนวน 5 คน ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง โดยในปัจจุบันมีคณะกรรมการทำหน้าที่รักษาการคณะกรรมการบริหารพรรค[3] คือ
  1. นายปวิตร ปานสถิตย์ ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรค
  2. นายประสิทธิ์ พุกเงิน ทำหน้าที่รักษาการ เสนาธิการพรรค
  3. นายเกรียงสิน เจริญฉิม ทำหน้าที่เป็นนายทะเบียน และ เหรัญญิก

พรรคไทยสร้างสรรค์
ผู้นำปวิตร ปานสถิตย์
เลขาธิการประสิทธิ์ พุกเงิน
นโยบาย1.ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยแก่ประชาชน
2.สร้างค่านิยมที่ดีกับผู้นำกลุ่มต่างๆ
3.ปลูกฝังสิ่งที่ดีงามให้กับเยาวชน
4.สร้างบุคคลตัวอย่างในด้านต่างๆ ให้กับเยาวชน[1]
ก่อตั้งพ.ศ. 2553